ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อนุโสตสูตร
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไปตามกระแส ๑ บุคคลผู้ไปทวนกระแส ๑ บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ๑ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม เสพกามทั้งหลาย และย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปตาม กระแส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปทวนกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมไม่เสพกาม และย่อมไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป แม้มีหน้านอง ด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เพราะประกอบด้วยทุกข์บ้าง เพราะประกอบด้วยโทมนัส บ้าง ก็ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปทวน กระแส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้วเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ผุดขึ้นเกิด ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้มีตน ตั้งอยู่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖.

เข้าถึงอยู่ นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่ ปราศจากราคะ มีปรกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแล ถูกตัณหา ครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติและชราบ่อยๆ ชื่อว่าไปตามกระแส เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพ กาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็ ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวน กระแส นรชนใดแล ละกิเลส ๕ ประการเสียได้ เป็น ผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ถึงความ เป็นผู้ชำนาญในจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นแล นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและอกุศล อันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว ถึงซึ่ง อันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวท อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก นักปราชญ์ทั้งหลาย เรียกว่าผู้ถึงฝั่ง ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๐๑-๑๓๓ หน้าที่ ๕-๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=101&Z=133&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=5&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=5&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=21&item=5&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=21&item=5&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]