ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
กรัณฑวสูตร
[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัครา ใกล้นครจัมปา สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกภิกษุ ทั้งหลายโจทด้วยอาบัตินั้นเอาเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อน ชักเรื่องไปนอกทางเสีย แสดงความโกรธเคืองและความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป จงกำจัด บุคคลนั้นออกไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นลูกนอกคอก กวนใจกระไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การ ถอยกลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และ จีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่าง นี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จัก อย่างนี้แล้ว ย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าภิกษุนี้ อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหญ้าชนิด หนึ่งที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง พึงเกิด ขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ ราก ก้าน ใบของมันเหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบ เท่าที่มันยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้ ทำลายข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง ครั้นทราบอย่างนี้ แล้ว เขาจึงถอนมันพร้อมทั้งราก เอาไปทิ้งให้พ้นที่นา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ คิดว่า หญ้าชนิดนี้อย่าทำลายข้าวที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะ คิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน กองข้าวเปลือกกองใหญ่ที่เขากำลังสาดอยู่ ในข้าวเปลือกกองนั้น ข้าวเปลือกที่ เป็นตัว แกร่ง เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่หัก ลีบ ลมย่อมพัดไปไว้ส่วนหนึ่ง เจ้าของย่อมเอาไม้กวาดวีข้าวที่หักและลีบออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า มันอย่าปนข้าวเปลือกที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่าภิกษุนี้ อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลต้อง การกระบอกตักน้ำ ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า เขาเอาสันขวานเคาะต้นไม้นั้นๆ บรรดาต้นไม้เหล่านั้น ต้นไม้ที่แข็ง มีแก่น ซึ่งถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียง หนัก ส่วนต้นไม้ที่ผุใน น้ำชุ่ม เกิดยุ่ยขึ้น ถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงก้อง เขาจึงตัดต้นไม้ที่ผุในนั้นที่โคน ครั้นตัดโคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้ว จึงคว้านข้างในให้เรียบร้อย แล้วทำเป็นกระบอกตักน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน แลบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การ แล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือน ของภิกษุที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็น ผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว ย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้าย ภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ฯ เพราะการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มีความปรารถนาลามก มักโกรธ มักลบลู่ หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด บางคนในท่ามกลางประชุมชน พูดไพเราะ ดังพระสมณะ พูดปิดบังความชั่วที่ตัวทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อเฟื้อ พูด เลอะเลือน พูดเท็จ เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่าเป็นอย่าง ไรแล้ว จงพร้อมใจกันทั้งหมดขับบุคคลนั้นเสีย จงกำจัด บุคคลที่เป็นดังหยากเหยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสีย แต่นั้น จงนำคนแกลบ ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่าเป็นสมณะ ออกเสีย เธอทั้งหลาย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนดีและคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจร ลามกออกแล้ว จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็น ผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จักกระทำที่สุด ทุกข์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเมตตาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เมตตสูตร ๒. ปัญญาสูตร ๓. อัปปิยสูตรที่ ๑ ๔. อัปปิยสูตร ที่ ๒ ๕. โลกธรรมสูตร ๖. โลกวิปัตติสูตร ๗. เทวทัตตสูตร ๘. อุตตร- *สูตร ๙. นันทสูตร ๑๐. กรัณฑวสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๓๔๔๙-๓๕๐๙ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3449&Z=3509&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=100&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=100&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=100&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=100&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=100              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]