ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
วินิพันธสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความ กระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในกามทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความ พอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความ พอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหาในกาย ... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความ พอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหาในรูป ... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการ ที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบ ความสุขในการนอน ในการเอน ในการหลับอยู่ ... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิต ประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งความปรารถนาเป็น เทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น เทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งความปรารถนาเป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง จิตของภิกษุนั้นย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละธรรม เครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสติปัฏฐานวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สิกขาสูตร ๒. นิวรณสูตร ๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานขันธสูตร ๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร ๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร ๙. เจโต- *ขีลสูตร ๑๐. วินิพันธสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๘๖๔-๙๙๐๘ หน้าที่ ๔๒๖-๔๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9864&Z=9908&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=276&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=276&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=276&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=276&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=276              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]