ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๒๕๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ
๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
การงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มา
ยินดี ๑ เป็นผู้ชอบคุย ยินดีในการคุย ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบคุย ๑
เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุผู้เสขะ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้มี
การงานเป็นที่มายินดี ๑ ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการคุย ไม่ขวนขวายในความเป็น
ผู้ชอบคุย ๑ ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบ
หลับ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
                          ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการคุย ชอบหลับและ
                          ฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้นไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
                          เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย เว้นจากความหลับ
                          ไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่นนั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ
                          อันสูงสุด ฯ
             เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิจฉาทิฐิสูตร ๒. สัมมาทิฐิสูตร ๓. นิสสรณสูตร ๔. รูปสูตร ๕. ปุตตสูตร ๖. อวุฏฐิกสูตร ๗. สุขสูตร ๘. ภินทนสูตร ๙. ธาตุสูตร ๑๐. ปริหานสูตร ฯ
จบวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๔
๑. วิตักกสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๙๗๔-๖๐๐๗ หน้าที่ ๒๖๓-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=5974&Z=6007&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=257&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=257&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=257&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=257&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=257              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]