ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗
ท่านพระติสสเมตเตยยะทูลถามปัญหาว่า [๔๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอกความคับแค้น แห่งบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ เถิด ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้สดับคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว จักศึกษาใน วิเวก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรเมตเตยยะ ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมมีอยู่ บุคคลผู้ ประกอบเมถุนธรรม ย่อมลืมแม้คำสั่งสอน และย่อมปฏิบัติ ผิด นี้เป็นกิจไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น บุคคลใดประพฤติอยู่ผู้ เดียวในกาลก่อนแล้ว เสพเมถุนธรรม (ในภายหลัง) บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนมีกิเลสมากในโลก เหมือนยวดยานที่แล่นไปใกล้เหว ฉะนั้น ยศและเกียรติ คุณในกาลก่อนของบุคคลนั้น ย่อมเสื่อม บุคคลเห็นโทษ แม้นี้แล้ว ควรศึกษาไตรสิกขาเพื่อละเมถุนธรรม ผู้ใดไม่ละ เมถุนธรรม ผู้นั้นถูกความดำริครอบงำแล้ว ซบเซาอยู่ เหมือนคนกำพร้า ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชน เหล่าอื่นแล้ว เป็นผู้เก้อเขินเช่นนั้น อนึ่ง ผู้ใดอันวาทะ ของบุคคลอื่นตักเตือนแล้ว ยังกระทำกายทุจริตเป็นต้น ผู้นี้ แหละพึงเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท บุคคลอันผู้อื่นรู้กันดีแล้วว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไป ผู้เดียว แม้ในภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ย่อมมัวหมอง เหมือนคนงมงาย ฉะนั้น มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้น และเบื้องปลายนี้แล้ว ควรกระทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ควรศึกษาวิเวกเท่านั้น การประพฤติ วิเวกนี้ เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มุนีไม่ ควรสำคัญตนว่าเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น มุนีนั้นแลย่อม อยู่ใกล้นิพพาน หมู่สัตว์ผู้ยินดีแล้วในกามทั้งหลาย ย่อมรัก ใคร่ต่อมุนีผู้สงัดแล้วเที่ยวไปอยู่ ผู้ไม่มีความห่วงใยในกาม ทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๔๓-๑๐๑๗๓ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10143&Z=10173&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=414&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=414&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=414&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=414&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=414              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]