บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
[๔๑๗] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้สงบ ท่านพระโคดมพระองค์ผู้อันข้าพระองค์ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่ข้าพเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฯ ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก เป็นผู้ไม่อาศัย (กาล อันเป็นอดีตอนาคต) เบื้องต้นและเบื้องปลาย อันใครๆ จะ พึงนับว่า เป็นผู้ยินดีแล้วใน (กาลอันเป็นปัจจุบัน) ท่าม- กลางไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อมไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้ว ด้วยวาจา ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่ เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นผู้มีปรกติเห็นความสงัดใน ผัสสะ อันใครๆ จะนำไปในทิฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใด ปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปรกติไม่ทะเยอะทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบใน คำส่อเสียด เว้นจากความเชยชมในกามคุณอันเป็นวัตถุน่า ยินดี ทั้งไม่ประกอบในการดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มี ปฏิภาณ ไม่เชื่อต่อใครๆ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษา เพราะ ใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความไม่มีลาภ และเป็นผู้--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๗.
ไม่พิโรธ ไม่ยินดีในรสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย มีสติทุก เมื่อ ไม่สำคัญตัวว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขาใน โลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลาย ของผู้นั้น ย่อมไม่มี ฯ ตัณหานิสสัยและทิฐินิสสัยของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยากเพื่อ ความมีหรือเพื่อความไม่มี ของผู้ใดไม่มี เรากล่าวผู้นั้นผู้ไม่มี ความห่วงใยในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้สงบ กิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งหลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว บุตร ธิดา สัตว์ เลี้ยง ไร่นาและที่ดินของผู้ใดไม่มี แม้ความเห็นว่าเป็นตัวตน ก็ดี ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตนก็ดี อันใครๆ ย่อมไม่ได้ใน ผู้นั้น ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าวกะผู้นั้น (ว่าผู้ ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้ายแล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะเป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะถ้อยคำ ทั้งหลาย มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี ไม่มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องในบุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือ ผู้เลวกว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาแลทิฐิ) ย่อมไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่าของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะ สิ่งที่ไม่มีอยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแล เรา กล่าวว่าเป็นผู้สงบ ฯจบปุราเภทสูตรที่ ๑๐ กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๑๘] ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๘.
ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ ส่อเสียด เกิดจากอะไร ธรรมเครื่องเศร้าหมองเหล่านั้นเกิด จากอะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์ ถามนั้นเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ ส่อเสียด เกิดจากของที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบเข้าแล้วด้วยความตระหนี่ ก็เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว คำส่อเสียดย่อมเกิด ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของ ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ความหวังและ ความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพมีอะไรเป็นเหตุ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของ ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็นเหตุ ความ หวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความ พอใจนี้เป็นเหตุ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้การวินิจฉัย คือ ตัณหาและทิฐิก็ดี ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ ความสงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจากอะไร ฯ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๙.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและทุกขเวทนาใดว่า เป็น ความยินดีและความไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด เพราะอาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น สัตว์ในโลก เห็น ความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อม กระทำการวินิจฉัย ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ ความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดีและความไม่ยินดี ทั้งสองอย่างนั่นแหละมีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความ สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึง กล่าวธรรมทั้งหลาย ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไร ไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและ ความไม่ยินดี) นี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป และทั้งความเกิดขึ้นนี้ ว่ามีผัสสะนี้เป็นเหตุแก่ท่าน ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ อนึ่ง ความหวงแหนเกิด จากอะไร เมื่อธรรมอะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึง ไม่มี เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๐.
ผัสสะอาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น ความหวงแหนมีความ ปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้ เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างไรจึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข ทุกข์นี้ไม่มีแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจดำริว่า เราควรรู้ ความข้อนั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปรกติ เป็นผู้ไม่มี สัญญาด้วยสัญญาอันผิดปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็น ผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึง ไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญา เป็นเหตุ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะพระองค์ พระองค์ก็ได้ทรง แสดงความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถามความ ข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าว ความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่า ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่ารูปสมาบัตินี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า) เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๑.
บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด บ่อยๆ ฯจบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑ จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๑๙] สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตนๆ ถือมั่นทิฐิ แล้ว ปฏิญาณว่าพวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวต่างๆ กันว่า ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรมคือทิฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรมคือ ทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่น ทิฐิแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่า ผู้อื่น เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์สองพวกนี้ วาทะไหนเป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมด นี้ ต่างก็กล่าวกันว่าเป็นคนฉลาด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือ ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้น เป็นคนพาล คนเขลา เป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๒.
ทั้งหมดก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าชน เหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฐิ ก็หากว่าชนเหล่านั้นเป็นคน ผ่องใสอยู่ในทิฐิของตนๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้ บรรดาคนเจ้าทิฐิเหล่านั้น ก็จะ ไม่มีใครๆ เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของชนแม้ เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน เหมือนทิฐิของพวกชนนอกนี้ อนึ่ง ชนทั้งสองพวกได้กล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะ ความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุที่ชน เหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตนๆ ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง (สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่นว่า เป็นผู้เขลา ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่า เป็นความเท็จ ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น (ความจริงต่างๆ กัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกันเพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลง ไปได้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมา ทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกันเพราะสัจจะอะไรเล่า สมณ- พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกันออกไป ด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่ กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ ฯ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๓.
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะ มากหลายต่างๆ กัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สัจจะมากหลายต่างๆ กัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มี ในโลกเลย ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาด คะเนในทิฐิทั้งหลาย (ของตน) แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอัน เป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรม เหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และ ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคน เขลาไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิย่อมติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เขลา ด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียน ผู้อื่นกล่าวทิฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐิ นั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้นเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง และมัวเมาเพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วย ใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฐินั้น ของเขาบริบูรณ์แล้ว อย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม ด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม ไปด้วยกัน อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์ ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่มีใครเป็น ผู้เขลา ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไป--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๔.
ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก เพราะว่า เดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนักด้วยความยินดีในทิฐิของตน เดียรถีย์ ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าว ความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย โดยมาก เชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่าง หนักแน่นในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนัก- แน่นในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่นว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้เล่า เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่ บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนฝ่ายเดียว เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็น ต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละ การวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาท ในโลก ฉะนี้แล ฯจบจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒ มหาวิยูหสูตรที่ ๑๓ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๒๐] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถือมั่นอยู่ในทิฐิ ย่อมโต้เถียงวิวาท กันว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง บุคคลทั้งหมดนั้น ย่อมนำความนินทา มาเนืองๆ หรือย่อมได้ความสรรเสริญในที่นั้นบ้าง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลเหล่านั้นบางคราวได้ความสรรเสริญบ้าง ผลคือความ สรรเสริญนั้นน้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ เราย่อมกล่าวผล--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๕.
แห่งความวิวาทกัน ๒ ประการ คือ ความนินทาและความ สรรเสริญ บัณฑิตเห็นโทษในผลแห่งการวิวาทแม้นี้แล้ว เห็นนิพพานมิใช่ภูมิแห่งการวิวาท ว่าเป็นธรรมเกษม ไม่พึง วิวาทกัน ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ทิฐิเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก บัณฑิตผู้รู้แจ้งย่อมไม่เข้าไป ใกล้ทิฐิทั้งปวงนั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้น เป็นผู้ไม่เข้าไปใกล้ จะพึงถึงธรรมที่ควรเข้าไปใกล้อะไร จึงจะไม่ทำความชอบใจ ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนบางพวกผู้มีศีลอันอุดม สำคัญอยู่ว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรม อุดม จึงกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการสำรวม ชนเหล่านั้น สมาทานวัตรแล้วตั้งมั่นอยู่ ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายควรศึกษา ความบริสุทธิ์ของศาสดานั้นในทิฐินี้เท่านั้น ชนเหล่านั้นอัน ภพนำเข้าไปแล้ว กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด ถ้าบุคคล เป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตแล้วไซร้ บุคคลนั้นยังกรรมให้ ผิดไปแล้วก็ไม่หวั่นไหว ยังคร่ำครวญและปรารถนาความ บริสุทธิ์อยู่ เหมือนบุคคลอยู่ปราศจากเรือน เสื่อมแล้วจาก พวก พึงปรารถนาเรือนหรือพวก ฉะนั้น อนึ่ง อริยสาวก ละศีล พรต ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษทั้งสิ้นนี้ แล้วไม่ ปรารถนาว่า ธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ เว้นแล้วจากความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ ไม่ถือมั่นทิฐิ แล้วพึงเที่ยวไป ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๖.
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย อาศัยทิฐินั้นหรือความเกลียดบาป แม้อนึ่ง อาศัยรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว หรือ อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เป็นผู้ระลึกแล่นพ้นไปจากอกิริยทิฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพและมิใช่ภพแล้ว ย่อมทอดถอน ถึงความบริสุทธิ์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็ความดิ้นรนทั้งหลาย ย่อมมีแก่ผู้ปรารถนาความหวั่นไหว มีอยู่ในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว การจุติและการอุบัติในภพนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึงหวั่นไหวจะพึงดิ้นรนในอารมณ์ ไหนๆ เพราะเหตุอะไร ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรมใดว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นกล่าวธรรมนั้นแหละว่า เป็นธรรม เลวทราม วาทะของสมณพราหมณ์ทั้งสองพวกนี้ วาทะอย่าง ไหนจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหมดนี้แล เป็นผู้กล่าว อวดอ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวธรรมของตนนั่นแหละ ว่าเป็น ธรรมบริบูรณ์ แต่กลับกล่าวธรรมของผู้อื่น ว่าเป็นธรรม เลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างยึดถือทิฐิแม้ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน สมณพราหมณ์ ทั้งหลายกล่าวทิฐิของตนๆ ว่า เป็นของจริง ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ถ้าว่าบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม เพราะการติเตียนของบุคคลอื่น--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๗.
ไซร้ ใครๆ จะไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวธรรมของบุคคลอื่น โดยความเป็นธรรมเลวทราม ในธรรมของตน กล่าวว่า เป็นธรรมมั่นคง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญหนทางเครื่องดำเนิน ของตนอย่างใด การบูชาธรรมของตนของสมณพราหมณ์ เหล่านั้น ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั้น หากว่าวาทะทั้งปวง จะพึงเป็นของแท้ไซร้ ความบริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ผู้ มีถ้อยคำต่างๆ กันเหล่านั้นก็จะเป็นผลเฉพาะตนๆ เท่านั้น ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไปไม่มีแก่พราหมณ์ การวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฐิทั้งหลายว่าข้อนี้แหละจริง ดังนี้แล้ว ยึดถือไว้ ไม่ มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงล่วงความวิวาท เสียได้ พราหมณ์นั้นย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความ เป็นธรรมประเสริฐเลย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เดียรถีย์บางพวกกล่าวอยู่ว่า เรารู้ เราเห็น สิ่งที่เรารู้เราเห็น นี้ เป็นอย่างนั้นแล ดังนี้ จึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฐิ ถ้าว่าเดียรถีย์ได้เห็นแล้วไซร้ ประโยชน์อะไรเล่าด้วยความ เห็นนั้นแก่ตน เพราะว่าเดียรถีย์ทั้งหลาย ก้าวล่วง อริยมรรคเสียแล้วย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป และครั้นเห็นแล้วจักรู้ทั่ว--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๘.
ถึงนามรูปเหล่านั้นทีเดียว โดยความเป็นของเที่ยง และ โดยความเป็นสุข นรชนนั้น จะเห็นนามรูปมากหรือน้อย โดยความเป็นของเที่ยงและเป็นสุข ก็จริง ถึงกระนั้น ผู้ ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็น นั้นเลย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนผู้ทำทิฐิที่ตนกำหนดไว้ในเบื้องหน้า มีปรกติกล่าวตาม ความมั่นใจ ไม่ใช่เป็นผู้อันบุคคลอื่นพึงจะแนะนำได้ง่าย เลย ผู้นั้นอาศัยครูคนใดแล้ว ก็เป็นผู้กล่าวความดีงาม ในครูคนนั้น ผู้นั้นเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์ ได้เห็นความ ถ่องแท้ในทิฐิของตน ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า พราหมณ์รู้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเครื่องกำหนด คือ ตัณหาและ ทิฐิ ไม่แล่นไปด้วยทิฐิ และไม่มีตัณหาทิฐิเครื่อง ผูกพันด้วยญาณ อนึ่ง พราหมณ์นั้น ได้รู้สมบัติ คือ ทิฐิ ทั้งหลายเป็นอันมากแล้ววางเฉย ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือ ทิฐิเหล่านั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มุนีในโลกนี้ สละกิเลสเครื่องร้อยรัดเสียแล้ว เมื่อผู้อื่นเกิด วิวาทกัน ก็ไม่แล่นไปเข้าพวกเขา มุนีนั้นเป็นผู้สงบ เมื่อผู้อื่นไม่สงบ ก็เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ท่านไม่มีการยึดถือ ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า มุนีละอาสวะเบื้องต้น (คือส่วนที่ล่วงแล้ว) เสีย ไม่ทำ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๙.
อาสวะใหม่ (คือส่วนที่เป็นปัจจุบัน) ไม่เป็นผู้ลำเอียงเพราะ ความพอใจ อนึ่ง มุนีนั้นจะเป็นผู้ยึดมั่นกล่าวก็หาไม่ มุนีนั้น เป็นนักปราชญ์ หลุดพ้นแล้วจากทิฐิทั้งหลาย ไม่ติเตียน ตน ไม่ติดอยู่ในโลก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มุนีนั้น เป็นผู้ไม่มีมารและเสนามารในธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว หรือได้ ทราบแล้ว ปลงภาระลงแล้ว หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มี เครื่องกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา ฉะนี้แล ฯจบมหาวิยูหสูตรที่ ๑๓ ตุวฏกสูตรที่ ๑๔ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๒๑] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้- สงัด และมีความสงบเป็นที่ตั้ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ภิกษุ เห็นอย่างไรจึงไม่ถือมั่นธรรมอะไรๆ ในโลก ย่อมดับ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง อันเป็นรากเหง้าแห่งส่วน ของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้าซึ่งเป็นไปอยู่ว่า เป็นเรา ด้วยปัญญา ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงบังเกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ เพื่อปราบตัณหาเหล่านั้น ภิกษุพึงรู้ยิ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ภายใน หรือภายนอก ไม่พึงกระทำความถือตัวด้วยธรรมนั้น สัตบุรุษทั้งหลายไม่ กล่าวความดับนั้นเลย ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ กว่าเขา เสมอเขาหรือเลวกว่าเขา ด้วยความถือตัวนั้น--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๐.
ถูกผู้อื่นถามด้วยคุณหลายประการ ก็ไม่พึงกำหนดตนตั้งอยู่ โดยนัยเป็นต้นว่า เราบวชแล้วจากสกุลสูง ภิกษุพึงสงบ ระงับภายในเทียว ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น ความเห็นว่าตัวตน ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สงบแล้ว ณ ภายใน อนึ่ง ความเห็นว่าไม่มีตัวตน คือ เห็นว่าขาดสูญ จักมีแต่ ที่ไหน คลื่นไม่เกิดที่ท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรนั้นตั้งอยู่ ไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหวใน อิฐผลมีลาภเป็นต้น ฉันนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำกิเลสเครื่อง ฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น ในอารมณ์ไหนๆ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุเปิดแล้ว ขอพระองค์ได้ตรัสบอก ธรรมที่ทรงเห็นด้วยพระองค์เองอันนำเสียซึ่งอันตราย (ขอ พระองค์จงมีความเจริญ) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ จงตรัสบอกข้อปฏิบัติ และศีลเครื่องให้ผู้รักษาพ้นจากทุกข์ หรือสมาธิเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุเลย พึงปิดกั้นโสตเสียจาก ถ้อยคำของชาวบ้าน (ดิรัจฉานกถา) ไม่พึงกำหนัดยินดีในรส และไม่พึงถือสิ่งอะไรๆ ในโลกว่าเป็นของเรา เมื่อตนอัน ผัสสะถูกต้องแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำ ความร่ำไร ไม่พึงปรารถนาภพในที่ไหนๆ และไม่พึงหวั่นไหว ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว ภิกษุได้ข้าว น้ำ ของเคี้ยว หรือ แม้ผ้าแล้ว ไม่พึงกระทำการสั่งสมไว้และเมื่อไม่ได้สิ่งเหล่า นั้น ก็ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรน พึงเป็นผู้เพ่งฌาน ไม่พึงโลเล ด้วยการเที่ยว พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๑.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่งและที่นอนอันเงียบเสียง ไม่ พึงนอนมาก พึงมีความเพียร เสพความเป็นผู้ตื่นอยู่พึงละเสีย ให้เด็ดขาดซึ่งความเกียจคร้าน ความล่อลวง ความร่าเริง การ เล่นเมถุนธรรมกับทั้งการประดับ ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่า เป็นของเรา ไม่พึงประกอบอาถรรพ์ ตำราทำนายฝัน ทำนาย ลักษณะนักขัตฤกษ์ การทำนายเสียงสัตว์ร้อง การทำยาให้ หญิงมีครรภ์ และการเยียวยารักษา ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว เพราะนินทา เมื่อเขาสรรเสริญก็ไม่พึงเห่อเหิม พึงบรรเทา ความโลภ พร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและคำส่อเสียด เสีย ภิกษุไม่พึงขวนขวายในการซื้อการขาย ไม่พึงกระทำ การกล่าวติเตียนในที่ไหนๆ และไม่พึงคลุกคลีในชาวบ้าน ไม่พึงเจรจากะชนเพราะความใคร่ลาภ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด โอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจาประกอบปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ไม่พึง ศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำเถียงกัน ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ไม่พึงนิยมในการกล่าวมุสา ไม่พึง กระทำความโอ้อวด อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ปัญญา ศีลและพรต ภิกษุถูกผู้อื่นเสียดสีแล้ว ได้ฟังวาจา มากของสมณะทั้งหลายหรือของชนผู้พูดมาก ไม่พึงโต้ตอบ ด้วยคำหยาบ เพราะสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กระทำความเป็น ข้าศึก ภิกษุรู้ทั่วถึงธรรมนี้แล้ว ค้นคว้าพิจารณาอยู่ รู้ความ ดับกิเลสว่าเป็นความสงบดังนี้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติศึกษา ทุกเมื่อ ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ก็ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ครอบงำอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันอารมณ์มีรูปเป็นต้น ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นธรรมที่ตนเห็นเอง ประจักษ์แก่ตน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงนอบน้อมศึกษา--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๒.
ไตรสิกขาอยู่เนืองๆ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นทุกเมื่อเทอญ ฯจบตุวฏกสูตรที่ ๑๔ อัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๒๙๒-๑๐๖๗๕ หน้าที่ ๔๔๖-๔๖๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10292&Z=10675&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=417&items=5&pagebreak=1&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=417&items=5&pagebreak=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=417&items=5&pagebreak=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=417&items=5&pagebreak=1&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=417 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]