ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๔๒๘] เมตตคูมาณพทูลถามปัญหาว่า
                          ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอ
                          พระองค์จงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์
                          ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงถึงเวท มีจิตอันอบรมแล้ว ความ
                          ทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นอันมาก มีมาแล้วแต่
                          อะไร ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรเมตตคู
                          ท่านได้ถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราจะบอกเหตุ
                          นั้นแก่ท่านตามที่รู้ ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็น
                          อันมาก ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ ผู้ใดไม่รู้แจ้งย่อมกระทำ
                          อุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะ
                          ฉะนั้น เมื่อบุคคลมารู้ชัด เห็นชาติว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
                          ไม่พึงกระทำอุปธิ ฯ
             ม. 	ข้าพระองค์ได้ทูลถามความข้อใด พระองค์ก็ทรงแสดงความ
                          ข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้ออื่นอีก
                          ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นเถิด นักปราชญ์
                          ทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ คือ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ
                          ได้อย่างไรหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จง
                          ตรัสพยากรณ์ธรรมอันเป็นเครื่องข้ามโอฆะให้สำเร็จประโยชน์
                          แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัด
                          แล้วด้วยประการนั้น ฯ
             พ. 	ดูกรเมตตคู เราจักแสดงธรรมแก่ท่านในธรรมที่เราได้เห็น
                          แล้ว เป็นธรรมประจักษ์แก่ตนที่บุคคลทราบชัดแล้ว พึง
                          เป็นผู้มีสติ ดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
                          ในโลกเสียได้ ฯ
             ม. 	ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่าง
                          ยิ่ง ซึ่งธรรมอันสูงสุดที่บุคคลทราบชัดแล้ว เป็นผู้มีสติ
                          พึงดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก
                          เสียได้ ฯ
             พ. 	ดูกรเมตตคู ท่านรู้ชัดซึ่งส่วนอย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้อง
                          บน (คืออนาคต) ในส่วนเบื้องต่ำ (คืออดีต) และแม้ใน
                          ส่วนเบื้องขวางสถานกลาง (คือปัจจุบัน) จงบรรเทาความ
                          เพลิดเพลินและความยึดมั่นในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณ
                          (ของท่าน) จะไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่
                          อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ได้รู้แจ้งแล้วเที่ยวไปอยู่ ละความ
                          ถือมั่นว่าของเราได้แล้ว พึงละทุกข์ คือ ชาติ ชรา โสกะ
                          และปริเทวะในอัตภาพนี้เสีย ฯ
             ม. 	ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่งซึ่งพระวาจานี้ ของพระองค์ผู้แสวงหา
                          คุณอันใหญ่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้โคตมโคตร ธรรมอัน
                          ไม่มีอุปธิพระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว พระองค์ทรงละทุกข์ได้
                          แน่แล้ว เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงรู้แจ้งชัดแล้วด้วยประการ
                          นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์พึงทรงสั่งสอนชน
                          เหล่าใดไม่หยุดยั้ง แม้ชนเหล่านั้นก็พึงละทุกข์ได้เป็นแน่
                          ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงได้มา
                          ถวายบังคมพระองค์ ด้วยคิดว่า แม้ไฉน พระผู้มีพระภาค
                          พึงทรงสั่งสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนเถิด ฯ
             พ. 	ท่านพึงรู้ผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
                          ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามโอฆะนี้ได้แน่แล้ว ผู้
                          นั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ไม่มีตะปู คือ กิเลส ไม่มีความ
                          สงสัย นรชนนั้นรู้แจ้งแล้วแล เป็นผู้ถึงเวทในศาสนานี้ สละ
                          ธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ในภพน้อยและภพใหญ่ (ในภพและ
                          มิใช่ภพ) เสียได้แล้ว เป็นผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ไม่มี
                          กิเลสอันกระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นข้าม
                          ชาติและชราได้แล้ว ฯ
จบเมตตคูมาณวกปัญหาที่ ๔
โธตกปัญหาที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๐๖๑-๑๑๑๑๖ หน้าที่ ๔๗๘-๔๘๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11061&Z=11116&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=428&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=428&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=428&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=428&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=428              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]