ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
             [๓๘๗] 	เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความสงบใจ จึงได้ถาม
                          สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่า
                          เป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ซึ่ง
                          เป็นเครื่องให้รู้แจ้งปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคด คือ กิเลสอันไปแล้วใน
                          ภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่ คือ กิเลส
                          เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชาก
                          บ่วง คือ กิเลสนั้นไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศกและความร่ำไร
                          ใครในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น  ประกาศทางเป็นเครื่อง
                          ตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์ คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรม
                          อันกำจัดกิเลสได้จะปฏิบัติธรรมเครื่องนำไป ปราศจากชราและมรณะ
                          ของใคร จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบด้วยความ
                          แข่งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิตกระด้างด้วยใจ เป็นเครื่อง
                          รองรับตัณหา สิ่งใดมีธนู คือ ตัณหาเป็นสมุฏฐานมีประเภท ๓๐ เป็น
                          ของมีอยู่ในโลก เป็นของหนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่ง
                          นั้นเถิด การไม่ละทิฏฐิน้อยๆ อันลูกศร คือ ความดำริผิดให้อาจหาญ
                          แล้ว เราถูกยิงด้วยลูกศร คือ ทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือนใบไม้ที่
                          ถูกลมพัดฉะนั้น กรรมอันลามก ตั้งขึ้นแล้วในภายในของเราย่อมพลัน
                          ให้ผล กายอันเนื่องด้วยสัมผัส ๖ เกิดแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้น
                          ทุกเมื่อ เราไม่เห็นหมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราได้เลย หมอไม่สามารถ
                          จะเยียวยาเรา ด้วยศาตราอย่างอื่นต่างๆ ชนิด ใครไม่ต้องใช้ศาตรา
                          ไม่ทำให้ร่างกายเราเป็นแผล ไม่เบียดเบียนร่างกายเราทั้งหมด จักถอน
                          ลูกศรอันเสียบอยู่ภายในหทัยของเราออกได้ ก็บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ใน
                          ธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ลอยโทษอันเป็นพิษเสียได้ ช่วยยกเราผู้ตกไป
                          ในห้วงน้ำ คือ สงสารอันลึกขึ้นสู่บกได้ เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่
                          อันเป็นที่สุดแห่งธุลี เป็นห้วงน้ำลาดไปด้วยมายา ริษยา ความแข่งดี
                          และความง่วงเหงาหาวนอน ไม่มีใครจะนำออกได้ ความดำริทั้งหลาย
                          อันอาศัยซึ่งราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆ คือ อุทธัจจะเป็น
                          เสียงคำรน มีสังโยชน์เป็นฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทร
                          คือ อบาย กระแสตัณหาทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหา
                          เพียงดังเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นได้
                          ใครเล่าจะตัดตัณหา อันเป็นดังเถาวัลย์นั้นได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
                          ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็นเครื่องกั้นกระแส ตัณหาเหล่านั้นเถิด
                          อย่าให้กระแสตัณหาอันเกิดแต่ใจ พัดท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดัง-
                          กระแสน้ำ พัดต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งฉะนั้น พระศาสดาผู้มีอาวุธ คือ
                          ปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้วเป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัยเกิดแล้ว ผู้แสวงหา
                          ฟั่ง คือ นิพพานจากที่มิใช่ฝั่ง พระองค์ได้ทรงประทานบันไดอันนาย
                          ช่างทำดีแล้วบริสุทธิ์ทำด้วยไม้แก่น คือ ธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา
                          ผู้ถูกกระแสตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย
                          เราได้ขึ้นสู่ปราสาท คือ สติปัฏฐานแล้ว พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้ยินดี
                          ในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร ก็เมื่อใด
                          เราได้เห็นทางอันเป็นอุบายขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน
                          ได้เห็นท่า คือ อริยมรรคอันอุดม พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางอันสูง
                          สุดเพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลาย มีทิฏฐิและมานะเป็นต้น ซึ่งเป็นดัง
                          ลูกศรเกิดในตน เกิดแต่ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เป็นไปได้ พระพุทธ-
                          เจ้าทรงกำจัดโทษอันเป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยกรองของเรา
                          อันนอนเนื่องอยู่ในสันดานอันตั้งอยู่แล้วในใจของเราตลอดกาลนาน.
๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระรัฏปาลเถระ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๔๖๓-๗๕๑๐ หน้าที่ ๓๒๒-๓๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7463&Z=7510&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=387&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=387&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=387&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=387&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=387              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]