ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรีคาถา นวกนิบาต
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในนวกนิบาต
วัฑฒมาตาเถรีคาถา
คาถาสุภาษิตของนางวัฑฒมาตาเถรี
พระวัฑฒมาตาเถรี เมื่อจะกล่าวตักเตือนพระวัฑฒเถระ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ความว่า [๔๖๓] ดูกรท่านวัฑฒะผู้เป็นบุตร กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าอย่าได้มีแก่ท่านในโลก ในกาลไหนๆ เลย ท่านอย่าเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ร่ำไปเลย ดูกรท่าน วัฑฒะ มุนีทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตัดความสงสัยเสียได้ เป็นผู้มี ความเยือกเย็นถึงความฝึกฝนแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมอยู่เป็นสุข ดูกร ท่านวัฑฒะ ท่านพึงเพิ่มพูนมรรคอันฤาษีเหล่านั้นสั่งสมแล้ว เพื่อการ บรรลุทรรศนะ เพื่อการทำที่สุดแห่งทุกข์. พระวัฑฒเถระกล่าวว่า ข้าแต่มารดาผู้มีความแกล้วกล้า มารดาย่อมกล่าวเนื้อความนี้ แก่ฉัน ฉันเข้าใจว่า ป่าคือความรักในฉันย่อมไม่มีแก่ท่าน. พระเถรีตอบว่า ดูกรท่านวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสังขารเลวอุกกฤษฏ์ และ ปานกลาง ย่อมไม่มีแก่เราแม้แต่น้อย แม้ป่าเพียงเล็กน้อย ในสังขาร เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เรา เพราะอาสวะทั้งปวงของเราผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ สิ้นไปแล้ว วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธ- เจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว. พระวัฑฒเถระกล่าวว่า มารดาของเรา แทงเราด้วยปฏักอันใหญ่หนอ มารดาของเราได้กล่าวคาถา อันประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนคนที่อนุเคราะห์แก่กันฉะนั้น เราได้ฟังคำพร่ำสอนของมารดาแล้ว เราได้ยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น เมื่อบรรลุธรรมปลอดโปร่งจากโยคะ เราเป็นผู้อันมารดาตักเตือนแล้วมีใจ ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ได้บรรลุสันติอันสูงสุด.
จบ นวกนิบาต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๔๗๘-๙๕๐๖ หน้าที่ ๔๑๐-๔๑๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=9478&Z=9506&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=463&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=463&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=463&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=463&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=463              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]