ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
มหารถวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมหารถวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๖๔] ท่านขึ้นรถม้าอันงามวิจิตรมิใช่น้อย เทียมด้วยม้าหนึ่งพันมาในที่ใกล้ภูมิ- สถานอุทยาน ย่อมรุ่งเรือง ดุจท้าววาสวปุรินททะผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดา แม่แคร่รถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองคำ ปูเรียบด้วยแผ่นกระ- ดานทองสนิทดี มีลูกกรงอันจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย ดังสำเร็จด้วย นายช่างผู้มีความเพียร งามไพโรจน์ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถของท่าน นี้ปกคลุมด้วยข่ายทอง วิจิตรด้วยรตนะต่างๆ อย่างมากมาย มีเสียง กึกก้องไพเราะ น่าเพลิดเพลิน รุ่งเรืองไปด้วยหมู่เทพบุตรและเทพนารี ผู้ถือจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้วิจิตรไปด้วยลวดลายอย่างละร้อย ดุจว่า เนรมิตแล้วดังใจนึก สว่างไสวดังสายฟ้าแลบ นับได้ด้านละร้อย รถนี้ ปกคลุมด้วยมาลากรรมอันวิจิตรเป็นอเนก กงใหญ่อันมีรัศมีตั้งพัน เสียง แห่งกงเหล่านั้นดังไพเราะดุจดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลบรรเลงแล้ว ที่ งอนรถร้อยด้วยแก้วมณีกลมดุจมณฑล พระจันทร์ งามวิจิตร แต่งด้วย ลายทองลายแก้วไพฑูรย์งามยิ่งนัก บริสุทธิ์ผุดผ่องทุกเมื่อ ม้าเหล่านี้ ผูกสอดแล้วด้วยแก้วมณี ทั้งสูงทั้งใหญ่ ว่องไว ดังพรหมพลีมีฤทธิ์ มาก อ้วนพี มีกำลังเร็วมาก รู้ใจของท่านวิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก ม้า ทั้งหมดนี้อดทนไปด้วยเท้า ๔ รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจ นึก เป็นม้าอ่อนโยน ไม่ลำพอง วิ่งเรียบยังใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็น ม้าอันอุดมกว่าม้าทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับอันนายช่างทองทำดีแล้ว สลัดขนหางอยู่ไปมา บางทีก็วิ่งยกย่างเท้าไป บางทีก็เหาะไป เสียง แห่งเครื่องประดับเหล่านั้น ดังไพเราะน่าฟัง ดังดนตรีเครื่อง ๕ อัน บุคคลบรรเลงแล้ว เสียงรถเสียงเครื่องประดับทั้งหลาย เสียงบันลือ แห่งกลีบม้า เสียงม้าคำรนร้อง และเสียงเทพเจ้าผู้บันเทิง ดังไพเราะ น่าฟัง ดังดนตรีแห่งคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา มีนางเทพอัปสรทั้งหลาย ยืนอยู่บนรถ มีดวงตารุ่งเรืองดังตาลูกเนื้อทราย มีขนตาดก มีหน้ายิ้ม แย้มพูดจาอ่อนหวาน มีสรีระปกคลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวพรรณ อันละเอียดอ่อน ผู้อันคนธรรพ์เทวดาผู้เลิศบูชาแล้ว นุ่งห่มผ้าแดงและ ผ้าเหลืองอันน่ากำหนัดรักใคร่ มีตากว้างยาว มีดวงตางาม มีสรีระ งดงาม หัวเราะเพราะพริ้งเกิดแล้วในตระกูล นางอัปสรทั้งหลายยืน ประนมปรากฏอยู่บนรถ สอดสวมกำไลทองมีร่างส่วนกลางงดงาม มี ลำขาและถันอันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้างาม น่าดูน่าชม นางอัปสร บางพวกยืนประนมมืออยู่บนรถ มีช้องผมอันงาม ล้วนแต่เป็นสาวรุ่นๆ มีผมอันสอดแซมด้วยแก้วมาลา ลอนผมเรียบร้อย งดงาม แบ่งออก เท่าๆ กัน นางอัปสรเหล่านั้น มีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน นางอัปสรทั้งหลายยืนประนมมือปรากฏบนรถ บางเหล่าสวมพวงมาลัย ปกคลุมไปด้วยดอกประทุมและดอกอุบล ตบแต่งแล้วด้วยมาลามาลัย ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ นางเทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจ ยินดีต่อท่าน นางเทพอัปสรทั้งหลายยืนประนมมือปรากฏอยู่บนรถ บาง พวกสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ด้วยเครื่องประดับทั้งหลายที่ประดับแล้วที่คอ ที่มือ ที่เท้า ที่ศีรษะ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอุทัยในสารทกาล ดอกไม้ และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง อันกำลังลมพัดพานแล้ว ย่อมเปล่ง เสียงกึกก้องไพเราะเจริญใจ เป็นเสียงอันเลิศ อันวิญญูชนทั้งปวงพึงฟัง ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ ก็เสียงอันเกิดแล้วเพราะรถ ช้างและดุริยางค์ ดนตรีทั้งหลาย อันตั้งอยู่แล้วในภูมิสถานอุทยาน โดยสองข้างเหล่านั้น ย่อมยังท่านให้บันเทิงใจ ดุจพิณทิพย์ทั้งหลาย มีรางและคันถือประกอบ แล้วเรียบร้อย อันนักดีดพิณบรรเลงอยู่ ย่อมยังชนผู้ฟังให้บันเทิง ฉะนั้น เมื่อพิณเป็นอันมากนี้ มีเสียงไพเราะเจริญใจ อันนางอัปสร ทั้งหลายบรรเลงอยู่ แม้เสียงนั้นจับใจยิ่งนัก นางเทพกัญญาทั้งหลาย ผู้ได้ศึกษาแล้ว พากันฟ้อนรำขับร้องอยู่ในดอกปทุมทั้งหลายเปรียบ เหมือนการขับร้อง การฟ้อนรำ และการประโคม ย่อมประสานเสียง เป็นเสียงเดียวกัน ฉะนั้น นางเทพอัปสรบางพวกฟ้อนรำอยู่บนรถของ ท่านนี้ และนางเทพอัปสรบางพวกย่อมยังทศทิศให้สว่างไสว ในข้าง ทั้งสองในประเทศนั้น ด้วยสรีระของตนและด้วยรัศมีแห่งวัตถาภรณ์ ท่าน นั้นเป็นผู้อันหมู่ทิพยดนตรีปลุกปลื้ม บันเทิงใจ อันหมู่ทวยเทพทั้งหลาย บูชาอยู่ ดุจท้าววชิราวุธ เมื่อพิณทิพย์เป็นอันมากนี้ เสียงไพเราะ เจริญใจ อันนางอัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่ แม้เสียงนั้นก็จับใจอย่างยิ่ง เมื่อชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ด้วยตนเอง ชาติก่อน ท่านเป็น มนุษย์ได้รักษาอุโบสถ หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรม และการ สมาทานวัตรอะไร การที่ท่านมีอิทธานุภาพอันไพบูลย์รุ่งโรจน์โชติช่วง ครอบงำซึ่งหมู่เทวดาอย่างยิ่ง นี้ไม่ใช่ผลแห่งกรรมอันท่านทำแล้ว หรือ แห่งอุโบสถอันท่านประพฤติแล้วในชาติก่อน มีประมาณนิดหน่อยเลย นี่เป็นผลแห่งทาน ศีลหรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้วขอท่าน จงบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมา? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว มีความก้าวหน้าไม่ต่ำทราม ผู้สูงสุดกว่านระ ทรงพระนามว่ากัสสปเป็นอัครบุคคล ผู้เปิดประตูแห่ง อมตธรรม เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา มีมหาปุริสลักษณะอันเกิดแล้วด้วย อำนาจบุญตั้งร้อย ผู้เช่นกับกุญชรข้ามโอฆะได้แล้ว มีพระรูปงามดุจ ทองสิงคิวรรณและทองชมพูนุท ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นธงชัยแห่ง พระธรรมได้ถวายข้าวและน้ำ อันประกอบด้วยรสอร่อย สะอาด ประณีต กับทั้งจีวร แก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ในที่อยู่ของตนอันเกลื่อน กล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้ามีใจไม่ข้องอยู่ในอะไรๆ ได้อังคาสพระ- พุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ ด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และของควรลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็น เทพบุรีโดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายมหาทานที่ควรบูชาอันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้เสมอๆ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้เสมอด้วย พระอินทร์ รื่นรมย์ อยู่ในเทพบุรี. โคบาลเทพบุตร ครั้นบอกบุรพกรรมอันตนทำแล้วแก่พระเถระด้วยประการดังนี้แล้ว บัดนี้ มีความปรารถนาเพื่อยังชนแม้เหล่าอื่นให้ดำรงอยู่ในนิสสยสมบัติ เมื่อจะประกาศความเลื่อมใส ของตนในพระตถาคต จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมุนี เมื่อใครๆ หวังซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และ รูปอันประณีต อย่างพึงมีใจข้องอยู่ในสิ่งอื่น พึงยังข้าวและน้ำอันตน ตบแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ให้ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้า เพราะใครๆ ใน โลกนี้หรือโลกอื่น จะเป็นผู้ประเสริฐหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า มิได้มี พระตถาคตเจ้านั้นถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง กว่าบุคคลผู้ควร บูชาทั้งหลาย ของชนผู้มีความต้องการบุญ แสวงหาผลอันไพบูลย์.
จบ มหารถวิมานที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มัณฑุกเทวปุตตวิมาน ๒. เรวดีวิมาน ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน ๔. กักกฏรสทายกวิมาน ๕. ทวารปาลกวิมาน ๖. กรณียวิมานที่ ๑ ๗. กรณียวิมานที่ ๒ ๘. สูจิวิมานที่ ๑ ๙. สูจิวิมานที่ ๒ ๑๐. นาควิมานที่ ๑ ๑๑. นาควิมานที่ ๒ ๑๒. นาควิมานที่ ๓ ๑๓. จูฬรถวิมาน ๑๔. มหารถวิมาน.
จบ มหารถวรรคที่ ๕.
จบ ภาณวารที่ ๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๒๒๓๖-๒๓๓๘ หน้าที่ ๙๑-๙๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=2236&Z=2338&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=64&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=64&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=64&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=64&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=64              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]