ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๑๘๐] คำว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ มีความว่า อมตนิพพาน เรียก
ว่าฝั่ง ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา ความ
สำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด. ผู้ใดไปถึงฝั่ง บรรลุฝั่งแล้ว ไปถึง
ส่วนสุด บรรลุส่วนสุดแล้ว ไปถึงที่สุด บรรลุที่สุดแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มีแก่ผู้นั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง. คำว่า ย่อมไม่กลับ คือ กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละแล้ว
ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลส
เหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริยบุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับ
มาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอนาคามิมรรค อริยบุคคลนั้น ย่อม
ไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอรหัต-
*มรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา. คำว่า ผู้คงที่ คือพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ โดยอาการ ๕ คือ
เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะ
อรรถว่าข้ามแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ.
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร? พระอรหันต์เป็น
ผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้
ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์. หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้แขนข้างหนึ่งแห่งพระอรหันต์ด้วย
เครื่องหอม พึงถากแขนข้างหนึ่งด้วยมีด พระอรหันต์ย่อมไม่มีความยินดีในการลูบไล้ด้วยเครื่อง
หอมโน้น และไม่มีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น เป็นผู้ละการยินดียินร้ายเสียแล้ว เป็นผู้ล่วง
เลยการดีใจและการเสียใจแล้ว เป็นผู้ก้าวล่วงความยินดีความยินร้ายเสียแล้ว พระอรหันต์ชื่อว่า
เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้.
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างไร? พระอรหันต์สละ คาย
ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว ซึ่งความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความ
ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างนี้.
             พระอรหันต์ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างไร? พระอรหันต์ข้ามแล้ว ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี เป็นไปล่วงซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และ
คลองแห่งสงสารทั้งปวง พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มี
แก่พระอรหันต์นั้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างนี้.
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างไร? พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้ว
พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ
ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง
ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างนี้.
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างไร? พระอรหันต์
ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดง
ออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีความ
เพียร ในเมื่อความเพียรมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่.
ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น ในเมื่อสมาธิมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดง
ออกว่า เป็นผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓
ในเมื่อวิชชามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่.
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ
                          ไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายอันพระอรหันตขีณาสพเหล่า
                          นั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใครๆ
                          ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ ดังนี้.
จบปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕.
-----------------------------------------------------
ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๒๕๓๖-๒๕๘๖ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=2536&Z=2586&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=180&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=180&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=180&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=180&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=180              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]