ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง
[๖๙๗] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ได้แก่ ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑. ขันธภาระเป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ. กิเลสภาระเป็นไฉน? ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ. อภิสังขารภาระเป็น ไฉน? ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ ขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง ดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อย แล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว.
ว่าด้วยโมเนยยะ ๓ อย่าง
คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป กำหนดเฉพาะ ความเป็นบันฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็น เครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุลแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญา เป็นดังศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วย ญาณนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่าโมนะ โมเนยยะ (ธรรมเครื่องทำความเป็นมุนี) มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑. โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้กายมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การ ละฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้วาจา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. โมเนยยธรรมทางใจเป็น? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้จิต มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตตสังขาร ความบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่างๆ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนี ผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนี ทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละ กิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนี ทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนีเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นมุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคาร- *มุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี อาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดเป็น ผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นแต่ผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคล ใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคน ที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่ามุนีโดย เหตุนั้น บุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นเรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวงทั้ง ภายในและภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่า ข่ายดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็น มุนี. คำว่า พ้นขาดแล้ว ความว่า จิตของมุนีพ้น พ้นขาด พ้นวิเศษดีแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๗๕๓๗-๗๕๙๔ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=7537&Z=7594&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=697&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=697&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=697&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=697&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=697              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]