ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๙๒๙] 	ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัว
                          ต่อภัย ๕ ประการ คือ ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน
                          สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์สี่เท้า.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๕.

ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นธีรชน
[๙๓๐] คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำ ผู้เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ ความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี ปัญญาทำลายกิเลส ไม่พึงกลัว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหวาดเสียวไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงถึงความ สยดสยอง ต่อภัย ๕ ประการ คือ เป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่หวาดเสียว ไม่หนี เป็น ผู้ละ ความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ. [๙๓๑] คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คือ ภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุที่เป็นพระเสขะ คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติ ปัฏฐานคือพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณา เห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่า มีสติ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้มีสติ. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบในคำว่า ประพฤติธรรมเป็น ส่วนสุดรอบ มี ๔ ประการ คือ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ ศีลสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุด รอบคืออินทรียสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ๑ ธรรมเป็นส่วนสุด รอบคือชาคริยานุโยค ๑. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม อยู่ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณ น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย พิจารณาถึงความเสีย ณ ภายใน ชื่อว่าประพฤติ ในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร ณ ภายใน มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรม เป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๖.

ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ พิจารณาอาทิตต- *ปริยายเทศนา ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรในภายใน มิได้ทำลาย อินทรียสังวรอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่าธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา โดยอุบายอันแยบคายแล้ว ฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบาก แห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น และความดำเนินของเรา ความที่เราไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเราจักมี ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น พิจารณาอาหารเปรียบด้วยน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน ผ้าสำหรับปิดแผล และเนื้อบุตร (ของคนที่เดินทางกันดาร) ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัต- *ตัญญุตา ย่อมไม่ทำลายโภชเนมัตตัญญุตาอันเป็นเขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุด รอบ คือโภชเนมัตตัญญุตา. ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อม สำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญาในความลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณา ถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค ในภายใน ย่อมไม่ทำลายชาคริยานุโยคอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ ชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๗.

ลักษณะตัวเหลือบเป็นต้น
[๙๓๒] แมลงมีตาเหลือง เรียกว่าเหลือบ ในคำว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์ เลื้อยคลาน. แมลงวันแม้ทั้งปวง เรียกว่าสัตว์ไต่ตอม. เหตุไรแมลงวันแม้ทั้งปวง จึงเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม. สัตว์เหล่านั้น ย่อมบิน ตอม กัดกิน เหตุนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม. งูทั้งหลาย เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน. [๙๓๓] คำว่า สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า พวกโจร คนที่ทำ กรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เรียกว่า สัมผัสแต่มนุษย์. มนุษย์เหล่านั้น พึงถามปัญหาบ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ยำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า หรือทำความพยายาม ฆ่า ความกระทบกระทั่งแต่มนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมผัส แต่มนุษย์. คำว่า ภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง. สัตว์ ๔ เท้าเหล่านั้น พึงย่ำยี กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่าภิกษุ ความกระทบกระทั่งแต่สัตว์ ๔ เท้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัมผัสแต่มนุษย์และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ ประการ คือ ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่ มนุษย์ และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๐๗๖-๑๑๑๔๓ หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11076&Z=11143&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=929&items=5&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=929&items=5&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=929&items=5&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=929&items=5&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=929              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]