บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
อนาปัตติวาร [๔๙๓] อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำมันที่เหลือของภิกษุณี ผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำมันของญาติ ๑ ฉันน้ำมันของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมา ด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่ พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๔. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใดขอน้ำผึ้งเขามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธ ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอน้ำผึ้งเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำผึ้งนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มี พระภาคทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำผึ้งนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวก ดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...ทรงอนุญาตน้ำผึ้ง พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธ ขอน้ำผึ้ง มาฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่ เจ้าดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่น้ำหวานที่สำเร็จจากแมลงผึ้ง. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ด้วย ตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฏ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำผึ้งที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำผึ้งของญาติ ๑ ฉันน้ำผึ้งของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของ ตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- *คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำอ้อยเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอน้ำอ้อยเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๕. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำอ้อยมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณี ผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอน้ำอ้อยเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำอ้อยนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำอ้อยนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงอนุญาตน้ำอ้อย พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอน้ำอ้อย เขามาฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉันภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำอ้อยก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำอ้อยแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำหวานที่เกิดจากอ้อย. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มา รับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฏ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำอ้อยที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำอ้อยของญาติ ๑ ฉันน้ำอ้อยของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- *คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอปลาเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่ พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มัก น้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอปลาเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ ขอปลาเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉัน ต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีอาพาธ ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอปลาเขามาฉัน ด้วยเหตุที่ฉันปลานั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเสียแล้ว จึง ไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันปลานั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงอนุญาตปลา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอปลาเขามา ฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๖. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นปลาก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นปลาแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า ปลา ได้แก่ สัตว์ที่เขาเรียกว่าเกิดในน้ำ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฏ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันปลาที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันปลาของญาติ ๑ ฉันปลาของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖ เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- *คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนื้อเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่ พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอเนื้อเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ ขอเนื้อเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉัน ต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปยะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีอาพาธ ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนื้อเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันเนื้อได้ นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันเนื้อนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงอนุญาตเนื้อ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนื้อ เขามาฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๗. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มา รับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฎ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันเนื้อที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันเนื้อของญาติ ๑ ฉันเนื้อของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณ- *ฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมสดเขามาฉัน คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอนมสดเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ ขอนมสดเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๘. ๗. อนึ่ง ภิกษุณี ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉัน ต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธ ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมสดเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ได้ ฉันนมสดนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรง ห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมสดนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...ทรงอนุญาตนมสด พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมสด เขามาฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมสด ก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นจากนมสดแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะ เป็นกัปปิยะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฏ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมสดที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมสดของญาติ ๑ ฉันนมสดของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗ จบ. ----------------------------------------------------- ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะ ไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอ- *นมส้มเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๒๒๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ. เรื่องภิกษุณีอาพาธ ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธ ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ?. ภิกษุณีผู้อาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมส้มเขามาฉันได้ด้วยเหตุที่ฉันนม- *ส้มได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้าม เสียแล้วจึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมส้มนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...ทรงอนุญาตนมส้ม พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมส้ม เขามาฉันได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๒๒๙. ๘. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดง คืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ. สิกขาบทวิภังค์ บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มก็มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มแล้วไม่มีความผาสุก. ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่ นมส้มของสัตว์มีโคเป็นต้น เหล่านั้นแล. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.บทภาชนีย์ ติกะปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.ทุกะทุกกฏ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมส้มที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมส้มของญาติ ๑ ฉันนมส้มของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๖๖๙๐-๗๐๗๕ หน้าที่ ๓๐๘-๓๒๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=6690&Z=7075&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=493&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=493&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=493&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=493&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=493 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]