ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๑] 	พราหมณ์พาวรี เป็นผู้เรียนจบมนต์ ปรารถนาความเป็นผู้ไม่
                          มีกังวล ออกจากพระนครโกศลอันน่ารื่นรมย์ ไปสู่
                          ทักขิณาปถชนบท
             [๒] 	พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดนแว่น
                          แคว้นอัสสกะและแว่นแคว้นมุฬกะต่อกัน เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย
                          การเที่ยวภิกขาและผลไม้.
             [๓] 	เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปอาศัย (อยู่) บ้านได้เป็นหมู่ใหญ่ด้วย
                          ความเจริญอันเกิดแต่บ้านนั้น พราหมณ์นั้นได้บูชามหายัญ
             [๔] 	พราหมณ์นั้นบูชามหายัญแล้วก็กลับเข้าไปสู่อาศรม เมื่อ
                          พราหมณ์นั้นกลับเข้าไปแล้ว พราหมณ์อื่นก็มา.
             [๕] 	พราหมณ์อื่นมีเท้าพิการ เดินงกงัน ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ
                          เข้าไปหาพาวรีพราหมณ์แล้ว ขอทรัพย์ห้าร้อย.
             [๖] 	พาวรีพราหมณ์เห็นพราหมณ์นั้นเข้าแล้ว ก็เชิญให้นั่ง แล้ว
                          ก็ถามถึงความสุขสำราญและความไม่มีโรค และได้กล่าว
                          คำนี้ว่า
             [๗] 	ทรัพย์ของเรามีอันจะพึงให้ เราสละหมดแล้ว. ดูกรพราหมณ์
                          ท่านเชื่อเราเถิด ทรัพย์ห้าร้อยของเราไม่มี.
             [๘] 	ถ้าเมื่อเราขอ ท่านจักไม่ให้. ในวันที่เจ็ด ศีรษะของท่านจง
                          แตกเจ็ดเสี่ยง.
             [๙] 	พราหมณ์นั้นเป็นคนโกหก ปรุงแต่งแสดงเหตุให้กลัว.
                          พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เป็นทุกข์.
             [๑๐] 	มีลูกศรคือความโศกเสียบแทงแล้ว ไม่บริโภคอาหาร ก็ซูบ
                          ผอม. ใช่แต่เท่านั้น ใจของพาวรีพราหมณ์ผู้มีจิตเป็นอย่างนั้น
                          ย่อมไม่ยินดีในการบูชา.
             [๑๑] 	เทวดา (ที่สิงอยู่ใกล้อาศรมของพราหมณ์พาวรี) ผู้ปรารถนา
                          ประโยชน์ เห็นพาวรีพราหมณ์หวาดกลัวเป็นทุกข์อยู่ จึงเข้า
                          ไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า.
             [๑๒] 	พราหมณ์ผู้มีความต้องการทรัพย์นั้น เป็นคนโกหก ย่อม
                          ไม่รู้จักศีรษะ. ความรู้จักศีรษะหรือธรรมอันให้ศีรษะตกไป
                          ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.
             [๑๓] 	พาวรีพราหมณ์ดำริว่า เทวดานี้อาจรู้ได้ในบัดนี้. (กล่าวว่า)
                          ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะ
                          ตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด. ข้าพเจ้าจะขอฟังคำของท่าน.
             [๑๔] 	แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไป. ข้าพเจ้า
                          ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้. ความเห็นซึ่งศีรษะและธรรมอันให้
                          ศีรษะตกไป ย่อมมีแก่พระชินะทั้งหลายเท่านั้น.
             [๑๕] 	พา. ก็ในบัดนี้ ใครในปฐพีมณฑลนี้ย่อมรู้จักศีรษะและธรรม
                          อันให้ศีรษะตกไป. ดูกรเทวดา ขอท่านจงบอกท่านผู้นั้นแก่
                          ข้าพเจ้าเถิด.
             [๑๖] 	เท. พระสักยบุตร เป็นวงศ์ของพระโอกกากราชเสด็จออก
                          จากเมืองกบิลพัสดุ์บุรี เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำสัตว์โลก เป็น
                          ผู้ทำ (แสดง) ธรรมอันสว่าง.
             [๑๗] 	ดูกรพราหมณ์ พระสักยบุตรนั่นแหละ เป็นพระสัมพุทธเจ้า
                          ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง บรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง มี
                          จักษุในธรรมทั้งปวง ทรงถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งธรรม
                          ทั้งปวง ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ.
             [๑๘] 	พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าในโลก มี
                          พระจักษุ ย่อมทรงแสดงธรรม. ท่านจงไปทูลถามพระองค์เถิด.
                          พระองค์จักทรงพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน.
             [๑๙] 	พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า พระสัมพุทธเจ้า แล้วมีความ
                          เบิกบานใจ มีความโศกเบาบาง และได้ปีติอันไพบูลย์.
             [๒๐] 	พราหมณ์พาวรีนั้น มีใจยินดี มีความเบิกบาน โสมนัส
                          ถามถึง (พระผู้มีพระภาค) กะเทวดานั้น. (และประกาศว่า)
                          พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ประทับอยู่ ณ ที่ใด
                          คือ บ้านนิคมหรือชนบทที่เขาทำแล้ว เราทั้งหลายพึงไป
                          นมัสการพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ณ ที่นั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๘-๖๓ หน้าที่ ๑-๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=8&Z=63&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=1&items=20&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=1&items=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=1&items=20&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=1&items=20&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]