ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๓๔๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา
ในอุเทศว่า ติณฺณา โลเก วิสตฺติกํ ดังนี้.
             ตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกํ เพราะอรรถว่ากระไร? เพราะอรรถว่า ฯลฯ
แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อ วิสัตติกา.
             คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
             คำว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว ... ในโลก ความว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น
ก้าวล่วง ก้าวพ้น เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
*พระภาคจึงตรัสว่า
                          พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้ว
                          เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้วดับแล้ว พระอรหันตขีณาสพ
                          เหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่ง
                          ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก.
             พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ พระเหมกะนั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค
ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์
เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ เหมกมาณวกปัญหานิทเทส ที่ ๘.
-----------------------------------------------------
โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านพระโตเทยยะ
[๓๔๖] (ท่านพระโตเทยยะทูลถามว่า) กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์ของผู้นั้น เป็นเช่นไร. [๓๔๗] คำว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ความว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โตเทยฺย ดังนี้ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพยำเกรง. คำว่า โตเทยฺย เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำ ร้องเรียกของพราหมณ์นั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระโตเทยยะทูลถามว่า. [๓๔๘] คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อมไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ ประจักษ์ แก่ผู้ใด คือ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. [๓๔๙] คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า ผู้ใดข้ามแล้ว คือ ข้าม ขึ้นแล้ว ข้ามพ้น ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้วจากความสงสัย เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว. [๓๕๐] คำว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร? ความว่า พราหมณ์นั้นย่อมทูลถามวิโมกข์ ว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร? คือ มีสัณฐานเช่นไร? มีประการอย่างไร? มีส่วนเปรียบ อย่างไร? อันบุคคลนั้นพึงปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร? เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์ของผู้นั้นเป็น เช่นไร? [๓๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโตเทยยะ) กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์อย่างอื่นของ ผู้นั้น ย่อมไม่มี. [๓๕๒] คำว่า ยสฺมึ ในอุเทศว่า ยสฺมึ กามา น วสนฺติ ดังนี้ คือ ในพระอรหันต- *ขีณาสพ โดยอุทานว่า กามา กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ย่อมไม่มี ความว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ คือ ย่อมไม่อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า โตเทยยะ ในอุเทศว่า โตเทยฺยาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโตเทยยะ. [๓๕๓] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ในอุเทศว่า ยสฺส น วิชฺชติ ดังนี้. คำว่า ยสฺส คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อมไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ผู้ใด คือ ตัณหานั้นอันผู้ใดละแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. [๓๕๔] วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความที่จิตหวาดใจสนเท่ห์ เรียกว่า กถังกถา ในอุเทศว่า กถงฺกถา จ โย ติณฺโณ ดังนี้. คำว่า โย คือ พระขีณาสพนั้นใด. คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า ผู้ใดข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงจากความสงสัยได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และผู้ใด ข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว. [๓๕๕] คำว่า วิโมกข์อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี ความว่า วิโมกข์ อย่างอื่นอันเป็น เครื่องให้หลุดพ้นได้ของผู้นั้นย่อมไม่มี. ผู้นั้นควรทำกิจด้วยวิโมกข์อย่างไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์อย่างอื่นของ ผู้นั้นย่อมไม่มี. [๓๕๖] ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึง รู้จักมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีสมันตจักษุ ขอ พระองค์ตรัสบอกให้แจ้งซึ่งปัญญานั้น แก่ข้าพระองค์. [๓๕๗] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีความหวังอยู่ ความว่า ผู้นั้นไม่มีตัณหา หรือยังมีตัณหา คือ ย่อมหวัง คือ ย่อมหวัง จำนง ยินดี ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบและธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่. [๓๕๘] คำว่า ผู้มีปัญญา ในอุเทศว่า ปญญาณวา โส อุท ปญฺญกปฺปี ดังนี้ ความว่า เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า หรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า หรือว่าย่อมก่อตัณหาทิฏฐิ คือ ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณคืออภิญญา ๕ หรือด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้นั้นมีปัญญาหรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา. [๓๕๙] พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าสักกะ ในคำว่า สกฺก ในอุเทศว่า มุนึ อหํ สกฺก ยถา วิชญฺญํ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุ ดังนี้ จึงชื่อว่า พระสักกะ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะ เหตุดังนี้ จึงชื่อว่าพระสักกะ. พระองค์มีทรัพย์เหล่านั้น คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือ โอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือ สัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือ มรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่า มีทรัพย์ ด้วยทรัพย์เป็นดังว่าแก้วหลายอย่างเหล่านั้น แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้อาจ องอาจ สามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าพระสักกะ. คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ความว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จัก คือ พึงรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ รู้ประจักษ์ซึ่งมุนีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร? [๓๖๐] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า ตมฺเม วิยาจิกฺข สมนฺตจกฺขุ ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ขอให้ประสาท ซึ่งปัญหาใด. คำว่า ขอโปรดตรัสบอกให้แจ้ง ความว่า ขอจงตรัสบอก ... ขอจงประกาศ. พระสัพพัญ- *ญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า สมนฺตจกฺขุ ฯลฯ เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์โปรดตรัส บอกให้แจ้งซึ่งปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา. ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึง รู้จักมุนีได้อย่างไร? ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีสมันตจักษุ ขอ พระองค์โปรดตรัสบอกให้แจ้งซึ่งปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์. [๓๖๑] ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา. ดูกรโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนีผู้ไม่ มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ แม้อย่างนี้. [๓๖๒] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ ความว่า ผู้นั้นไม่มีตัณหา ไม่เป็นไป กับด้วยตัณหา คือ ไม่หวัง ไม่จำนง ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่ชอบใจซึ่งรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่. [๓๖๓] คำว่า ผู้นั้นมีปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาณวา โส น จ ปญฺญกปฺปี ดังนี้ ความว่า ผู้นั้นเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลาย กิเลส. คำว่า ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า ผู้นั้นย่อมไม่ก่อซึ่งตัณหา หรือทิฏฐิ คือ ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วย ญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณคืออภิญญา ๕ หรือด้วยญาณอันผิด. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้นั้น มีปัญญา ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา. [๓๖๔] ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ในอุเทศว่า เอวมฺปิ โตเทยฺย มุนึ วิชาน ดังนี้. ฯลฯ บุคคลนั้นล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย ย่อม เป็นมุนี. คำว่า ดูกรโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี ... แม้อย่างนี้ ความว่า ดูกรโตเทยยะ ท่านจงรู้จัก รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ซึ่งมุนีอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดูกรโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี ... แม้อย่างนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๒๒๓-๓๓๕๙ หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3223&Z=3359&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=345&items=20              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=345&items=20&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=345&items=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=345&items=20              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=345              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]