บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๘๐๒] ญาณ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า สังขตธรรม ในอุเทศว่า สงฺขตธมฺโม นิยโต ปธานวา ดังนี้. คำว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีธรรมอันนับพร้อม แล้ว มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรมอันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเป็นแจ้งแล้ว มีธรรมแจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นพิจารณาขันธ์แล้ว พิจารณาธาตุแล้ว พิจารณา อายตนะแล้ว พิจารณาคติแล้ว พิจารณาอุปบัติแล้ว พิจารณาปฏิสนธิแล้ว พิจารณาภพแล้ว พิจารณาสังขารแล้ว พิจารณาวัฏฏะแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตั้งอยู่ในขันธ์เป็นที่สุด ในธาตุเป็นที่สุด ในอายตนะ เป็นที่สุด ในคติเป็นที่สุด ในอุปบัติเป็นที่สุด ในปฏิสนธิเป็นที่สุด ในภพเป็นที่สุด ในสงสาร เป็นที่สุด ในวัฏฏะเป็นที่สุด ในสังขารเป็นที่สุด ในภพที่สุด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทรงไว้ ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด. พระขีณาสพใดมีภพเป็นที่สุด มีอัตภาพ มีสงสารคือชาติ ชราและมรณะ ครั้งหลังสุด พระขีณาสพนั้นไม่มีในภพ ใหม่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว. อริยมรรค ๔ ท่านกล่าวว่า ธรรมอันแน่นอน ในคำว่า นิยโต นี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามีธรรมอันแน่นอน คือ ถึงพร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งนิยาม- *ธรรมด้วยอริยมรรคทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันแน่นอน. ความเพียร ความปรารภความเพียร ความก้าวหน้า ความบากบั่น ความหมั่น ความ เป็นผู้มีความหมั่น เรี่ยวแรง ความพยายามแห่งจิต ความบากบั่นอันไม่ย่อหย่อน ความเป็น ผู้ไม่ทอดฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ท่านกล่าวว่า ปธาน ในคำว่า ปธานวา. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยความเพียรนี้ เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่า มีความเพียร. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว มีธรรม อันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๐๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียงเหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดที่ตาข่าย ไม่ติดอยู่ เหมือนดอก บัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๐๔] คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ ความว่า สีหมฤคราชไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่พรั่นพรึง ไม่ หวาดเสียว ไม่หนีไปในเพราะเสียงทั้งหลาย ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้ ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่มีความพรั่นพรึง ไม่หวาดเสียว ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ. [๘๐๕] ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้ ลมมีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมพัดตามกาล ลมหัวด้วน ลมแต่ปีกนก ลมแต่ครุฑ ลมแต่ ใบตาล ลมแต่พัด ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน ดังนี้. ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ชาละ. ลมไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่เกาะที่ตาข่าย ฉันใด ข่าย ๒ อย่าง คือ ข่ายตัณหา ๑ ข่ายทิฏฐิ ๑. ฯลฯ ชื่อว่าข่ายตัณหา. นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิแล้ว. เพราะละข่ายตัณหา เพราะสละ คืนข่ายทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่เกาะ ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ข้องอยู่ที่ตาข่าย. [๘๐๖] ดอกบัว ท่านกล่าวว่า ปทุมํ ในอุเทศว่า ปทุมํ ว โตเยน อลิมฺปมาโน ดังนี้. น้ำท่านกล่าวว่า โตยะ. ดอกปทุมอันน้ำย่อมไม่ติด ไม่เอิบอาบ ไม่ซึมซาบ ฉันใด. ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา. ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วย ทิฏฐิเสียแล้ว. เพราะละความติดด้วยตัณหา เพราะสละคืนความติดด้วยทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นั้นจึงไม่ติด ไม่เข้าไปติด ไม่ฉาบ ไม่เข้าไปฉาบ ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่ เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ ติดเหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระ- *ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดเหมือนดอกบัวอัน น้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๐๗] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำสัตว์ ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราช มีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบ ปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉะนั้น. พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพซึ่งเสนาสนะอันสงัด พึงเที่ยวไป ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๐๘] คำว่า เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ความว่า สีหมฤคราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ มีเขี้ยวเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม กำจัด ย่ำยี ซึ่งสัตว์ดิรัจฉานทั้งปวง เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนิน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม กำจัด ย่ำยี ซึ่งสัตว์ทั้งปวงด้วยปัญญาเที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปราม ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป. [๘๐๙] คำว่า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด ความว่า สีหมฤคราชเข้าไปสู่ราวป่าอันสงัด เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจก- *สัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่ารกชัฏ สงัด เงียบสงัด ไม่มีเสียง กึกก้อง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนิน ไป เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด พึง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำสัตว์ ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบ ปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉะนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตาและ อุเบกขาอันเป็นวิมุติ ตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้ เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๑] คำว่า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอันเป็นวิมุติ ตลอดเวลา ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หา ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีใจประกอบด้วย กรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่ สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอันเป็นวิมุติ ตลอดเวลา. [๘๑๒] พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชังดังต่อไปนี้ เพราะ เป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออกจึงไม่เกลียดชัง สัตว์ทั้งหลายในทิศ ตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ใน ทิศเบื้องล่าง ในทิศเบื้องบน ในทิศน้อยทิศใหญ่ทั้ง ๑๐ ทิศ ไม่เกลียดชัง. คำว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง ความว่า อันสัตว์โลกทั้งหมดมิได้เกลียด มิได้ โกรธ มิได้เสียดสี มิได้กระทบกระทั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขาอันเป็นวิมุติ ตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้ เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ทำลาย เสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๔] ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ราคะ ในอุเทศว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ ดังนี้. จิตอาฆาต ฯลฯ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจจนถึงน้ำตาไหล ความไม่พอใจ ชื่อว่า โทสะ. ความไม่รู้ทุกข์ ฯลฯ อวิชชา เป็นบ่วง ความหลงใหล อกุศลมูล ชื่อว่า โมหะ. คำว่า ละแล้วซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ. [๘๑๕] สังโยชน์ ในอุเทศว่า ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ดังนี้ มี ๑๐ ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ฯลฯ อวิชชาสังโยชน์. คำว่า ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย ทำลายทั่ว ทำลายพร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความ ไม่มีในภายหลัง ซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย. [๘๑๖] คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่หวาด- *เสียว ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง ไม่พรั่น ไม่กลัว ไม่ สะทกสะท้าน ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง ในเวลาสิ้นสุด ชีวิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ทำลาย เสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๗] มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย. มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก. มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด. (เพราะฉะนั้น) พึง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. [๘๑๘] คำว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย ความว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่างยิ่งเป็นเหตุ จึงจะคบหา สมคบ เสพ สมาคมด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย. [๘๑๙] มิตร ในอุเทศว่า มิตรในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก มี ๒ จำพวก คือ มิตร- *คฤหัสถ์ ๑ มิตรบรรพชิต ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่ามิตรคฤหัสถ์. ฯลฯ นี้ชื่อว่ามิตรบรรพชิต. คำว่า มิตร ในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก ความว่า มิตร ๒ จำพวกนี้ ไม่มีการณะ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย หาได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก. [๘๒๐] คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในอุเทศว่า อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา ดังนี้ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมคบ สมคบ เสพ เสพด้วย ซ่องเสพ เอื้อเฟื้อ ประพฤติ เอื้อเฟื้อ เข้านั่งใกล้ ไต่ถาม สอบถาม เพื่อประโยชน์ตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัย แห่งตน เพราะการณะแห่งตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน. คำว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่สะอาด ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วย กายกรรมอันไม่สะอาด วจีกรรมอันไม่สะอาด มโนกรรมอันไม่สะอาด ปาณาติบาตอันไม่สะอาด อทินนาทานอันไม่สะอาด กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด มุสาวาทอันไม่สะอาด ปิสุณาวาจาอัน ไม่สะอาด ผรุสวาจาอันไม่สะอาด สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด อภิชฌาอันไม่สะอาด พยาบาท อันไม่สะอาด มิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด เจตนาอันไม่สะอาด ความปรารถนาอันไม่สะอาด ความ ตั้งใจอันไม่สะอาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่สะอาด คือ เป็นคนเลว เลวลง เป็นคน ทราม ต่ำช้า ลามก ชั่วช้า ชาติชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด. [๘๒๑] คำว่า ผู้เดียว ในอุเทศว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ดังนี้ ฯลฯ. จริยา (การเที่ยวไป) ในคำว่า จเร ดังนี้ มี ๘ อย่าง ฯลฯ. ชื่อว่าพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบหาสมาคมด้วย. มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ หาได้ยาก. มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด. (เพราะฉะนั้น) พึงเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.จบ ขัคควิสาณสุตตนิทเทส. ----------------------------------------------------- ก็แหละนิทเทสแห่งพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งในศาสนา ๑๖ คนนี้ คือ อชิตพราหมณ์ ๑ ติสสเมตเตยยพราหมณ์ ๑ ปุณเณก- พราหมณ์ ๑ เมตตคูพราหมณ์ ๑ โธตกพราหมณ์ ๑ อุปสีวพราหมณ์ ๑ นันทพราหมณ์ ๑ เหมกพราหมณ์ ๑ โตเทยยพราหมณ์ ๑ กัปปพราหมณ์ ๑ ชตุกัณณีพราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิต ๑ ภัทราวุธพราหมณ์ ๑ อุทยพราหมณ์ ๑ โปสาลพราหมณ์ ๑ โมฆราชพราหมณ์ผู้นักปราชญ์ ๑ ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ๑ รวมเป็น ๑๖ นิทเทส และในปารายนวรรคนั้น ยังมีขัคควิสาณสุตตนิทเทสอีก ๑ นิทเทส ๒ อย่างควรรู้ บริบูรณ์ ท่านลิขิตไว้เรียบร้อยดี.จบ สุตตนิทเทสบริบูรณ์. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๙๘๖-๘๑๖๕ หน้าที่ ๓๒๓-๓๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7986&Z=8165&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=802&items=20&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=802&items=20 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=802&items=20&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=802&items=20&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=802 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]