ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๕๖] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณอย่างไร ฯ
             ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๓ ควรกำหนดรู้
คือ เวทนา ๓ ธรรม ๔ ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔ ธรรม ๕ ควรกำหนดรู้ คือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖ ธรรม ๗ ควร
กำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗ ธรรม ๘ ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘ ธรรม ๙
ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙ ธรรม ๑๐ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐ ฯ
             [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ
ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
แม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             [๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและ
มรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง
บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะ
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้ความไม่
พยาบาทแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา เป็นอันได้อาโลก
สัญญาแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความ
ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้
การกำหนดธรรมแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณ
แล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความ
ปราโมทย์แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ ฯ
             [๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌาน
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตน-
*สมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้
อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา
... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา
... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ...
อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม
นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การ
พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาแล้ว ธรรม
นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายาม
เพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ ... อาทีนวานุปัสนา ... ปฏิสังขานุปัสนา ...
วิวัฏฏนานุปัสนา ... เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอัน
บุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้
โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค
... อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆ
เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนด
รู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๕๖-๕๑๔ หน้าที่ ๑๙-๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=456&Z=514&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=56&items=8&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=56&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=56&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=56&items=8&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=56              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]