ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
โมฆราชเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระโมฆราชเถระ
[๑๓๐] ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ มีจักษุ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์รู้ชัด ยัง สรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก พระองค์เป็นผู้ อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพ- สัตว์ ยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน เมื่อเป็น เช่นนี้ พระศาสนาจึงไม่มีความอากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตร ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหามุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ครั้งนั้น อายุของสัตว์ แสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาล ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้น วัฏสงสารไปได้ ครั้งนั้น เราเป็นผู้ประกอบในหนทางแห่งการงาน ของบุคคลอื่น ในสกุลหนึ่ง ในพระนครหงสวดี ทรัพย์สิน อะไรๆ ของเราไม่มี เราอาศัยอยู่ที่พื้นซึ่งเขาทำไว้ที่หอฉัน เรา ได้ก่อไฟที่พื้นหอฉันนั้น พื้นศิลาจึงดำไปเพราะไฟลน ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้ประกาศสัจจะ ๔ ได้ตรัสสรรเสริญพระสาวกผู้ทรง จีวรเศร้าหมองในที่ประชุมชน เราชอบใจในคุณของท่าน จึงได้ ปฏิบัติพระตถาคตปรารถนาฐานันดรอันสูงสุด คือ ความเป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่า ปทุมุตระ ได้ตรัสกะพระสาวกทั้งหลายว่า จงดูบุรุษนี้ผู้มีผ้าห่มน่า เกลียด ผอมเกร็ง มีหน้าผ่องใสเพราะปีติประกอบด้วยทรัพย์ คือ ศรัทธา มีกายและใจสูง เพราะปีติ ร่าเริง ไม่หวั่นไหว หนาแน่น ไปด้วยธรรมที่เป็นสาระ บุรุษนี้ชอบใจในคุณของภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้า หมอง ปรารถนาฐานันดรนั้นอย่างจริงใจ เราได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้น แล้ว ก็เบิกบาน ถวายบังคมพระพิชิตมารด้วยเศียรเกล้า ทำแต่ กรรมที่ดีงามในศาสนาของพระชินเจ้าตราบเท่าสิ้นชีวิต เพราะกรรม ที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะกรรมคือการเอาไฟลนพื้นที่หอฉัน เราจึงถูกเวทนาเบียดเบียน ไหม้แล้วในนรกพันปี ด้วยเศษกรรม ที่ยังเหลือนั้น เราเป็นมนุษย์เกิดในสกุล จึงเป็นผู้มีรอยเป็นเครื่อง หมายถึง ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ เพราะอำนาจกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้ เพียบพร้อมด้วยโรคเรื้อน เสวยมหันตทุกข์ถึง ๕๐๐ ชาติเหมือน กัน ในภัทรกัปนี้ เรามีจิตเลื่อมใสเลี้ยงดูพระอุปริฏฐะผู้มียศให้อิ่ม หนำด้วยบิณฑบาต เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือนั้น และเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อถึงภพสุดท้าย ได้บังเกิดในสกุลกษัตริย์ เมื่อพระชนกล่วงไป แล้ว ก็ได้เป็นพระมหาราชา เราถูกโรคเรื้อนครอบงำ กลางคืนไม่ได้ รับความสุข เพราะสุขที่เกิดจากความเป็นพระเจ้าแผ่นดินหาประ- โยชน์มิได้ ฉะนั้น เราจึงชื่อว่า โมฆราช เราเห็นโทษของร่างกาย จึงได้บวชเป็นบรรพชิต มอบตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรีผู้ ประเสริฐ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้นำนรชนพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้ทูลถามปัญหาอันละเอียดลึกซึ้งว่า โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก กับทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ไม่ทราบความเห็นของพระองค์ ผู้ทรง พระนามว่าโคดม ผู้มียศ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีปัญหามาถึง พระองค์ผู้ทรงเห็นล่วงสามัญชน ข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลก อย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น พระพุทธเจ้าผู้ทรงรักษาโรคทุกอย่าง ให้หายได้ ได้ตรัสกะเราว่า ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวตน เสีย บุคคลพึงข้ามพ้นมัจจุราชไปได้ด้วยอุบายเช่นนี้ ท่านพิจารณา เห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น เราเป็นผู้ไม่มีผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นภิกษุ พร้อมกับเวลาจบพระคาถา เราเป็น ผู้ถูกโรคเบียดเบียน ถูกเขาว่ากล่าวว่า วิหารอย่าเสียหายเสียเลย จึงไม่ได้อยู่ในวิหารของสงฆ์ เรานำเอาผ้ามาจากกองหยากเยื่อ ป่าช้า และหนทาง แล้วทำผ้าสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านี้ ทรงจีวรที่เศร้าหมอง พระผู้นำชั้นพิเศษผู้เป็นนายแพทย์ใหญ่ ทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น ของเรา จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ ทรงจีวรเศร้าหมอง เราสิ้นบุญและบาป หายโรคทุกอย่าง ไม่มี อาสวะ ดับสนิท เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อ เราเผากิเลสทั้งหลาย แล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โมฆราชเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหากัจจายนเถราปทาน ๖. พหิยเถราปทาน ๒. วักกลิเถราปทาน ๗. มหาโกฏฐิตเถราปทาน ๓. มหากัปปินเถราปทาน ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน ๙. ราธเถราปทาน ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
ในวรรคนี้ บัณฑิตประมวลคาถาได้ ๓๖๒ คาถา.
จบ กัจจายนวรรคที่ ๕๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๓๓๕๙-๓๔๓๓ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=3359&Z=3433&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=130&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=130&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=130&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=130&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=130              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]