ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๔๓๑] สติปัฏฐาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและ ภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ ในโลก ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความ- *เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสเสียได้ในโลก ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
กายานุปัสสนานิเทส
[เห็นกายในกายภายใน]
[๔๓๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุ ในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ- *นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้า ไปในกายภายนอก
[เห็นกายในกายภายนอก]
[๔๓๓] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมี ประการต่างๆ ว่า ในกายของเขาผู้นั้น มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหาร- *เก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ- *นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต เข้าไปในกายทั้งภายในและภายนอก
[เห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก]
[๔๓๔] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้น ไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วย ของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภาย นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก [๔๓๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การ พิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึง แล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณา เห็นเนืองๆ [๔๓๖] บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ [๔๓๗] บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามา ถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร [๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ [๔๓๙] บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้ เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ [๔๔๐] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็นไฉน กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
กายานุปัสสนานิเทส จบ
เวทนานุปัสสนานิเทส
[เห็นเวทนาในเวทนาภายใน]
[๔๔๑] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ เป็น อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย สุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ไม่มีอามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ มีอามิส ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปใน เวทนาภายนอก
[เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก]
[๔๔๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็น อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลัง เสวยสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกข- *เวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขม- *สุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวย สุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้น กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขา ผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มี อามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัด บุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขม- *สุขเวทนาไม่มีอามิส ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อม จิตเข้าไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก
[เห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก]
[๔๔๓] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็นทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนา มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนานีอามิส รู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มี อามิส รู้ชัดทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิส ว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขม- *สุขเวทนามีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่ มีอามิส ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน และภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสเสียได้ในโลก [๔๔๔] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การ พิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่ บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีความเพียร บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีสัมปชัญญะ บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็น ไฉน เวทนานั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้ พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้ มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก
เวทนานุปัสสนานิเทส จบ
จิตตานุปัสสนานิเทส
[เห็นจิตในจิตภายใน]
[๔๔๕] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือเมื่อ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิต ของเราฟุ้งซ่าน เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตไม่ เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตเป็น อนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต เข้าไปในจิตภายนอก

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๕๘๗๔-๖๐๖๐ หน้าที่ ๒๕๔-๒๖๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=5874&Z=6060&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=431&items=15              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=431&items=15&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=431&items=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=431&items=15              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=431              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]