ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
             [๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล  ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณา.  เธอได้คิดสงสัย
ในขณะนั้นว่า  พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า  ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ภิกษุในศาสนานี้  ต้องอาบัติในวัน
ปวารณา.  ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า  นั่งกระโหย่ง ประคอง
อัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
             ท่าน  ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น
             ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ?
             ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.
             ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า  ท่านพึงสำรวมต่อไป.
สงสัยในอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ. เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๑.

ท่าน ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น เมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย
กำลังปวารณาระลึกอาบัติได้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ จึงภิกษุนั้นได้มีความ ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็น ผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้. เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้ว จักทำคืนอาบัตินั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้นั้นเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา มีความสงสัยในอาบัติ. เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า อาวุโส ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้ว พึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.
สงฆ์ต้องสภาคาบัติ
ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ จึงภิกษุ เหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับ แสดงสภาคาบัติก็ไม่ได้ ก็สงฆ์หมู่นี้ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ. พวกเธอ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทัน ในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโส คุณจงไป ทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักคุณ. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้น อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๒.

ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติ เมื่อใดพบภิกษุ รูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เมื่อนั้นสงฆ์จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักภิกษุรูปนั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้น เป็นปัจจัย.
สงสัยในสภาคาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ มีความสงสัยในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ จักหมด ความสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น. ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้น เป็นปัจจัย.
ปฐมภาณวาร จบ.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๓.

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๖๖๑๐-๖๖๖๔ หน้าที่ ๒๗๐-๒๗๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=6610&Z=6664&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=232&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=232&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=4&item=232&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=4&item=232&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=232              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]