ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๕๔๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา
             บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำ
โวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล
ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้ เกิดขึ้นยังอภิญญาให้
เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น
             ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งตติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ตติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งจตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่จตุตถฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
             บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดย
อุปนิสสยปัจจัย
             ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
             จตุตตถฌาน เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อกิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทิพโสตธาตุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งเจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดย
อุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             เจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พระเสขะทั้งหลาย อาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าซึ่งสมาบัติ
ที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ-
*ปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ของพระเสขะทั้งหลาย โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๑๖๘-๖๒๓๒ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=6168&Z=6232&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=544&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=544&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=40&item=544&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=40&item=544&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=544              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40 https://84000.org/tipitaka/english/?index_40

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]