ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
ปัจจยวาร
[๕๙] สเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย สเหตุกมูลกะนัยเหมือนกับปฏิจจวาร อเหตุกธรรม อาศัยอเหตุกธรรม ฯลฯ เหมือนกับปฏิจจวารนั่นเอง สเหตุกธรรม อาศัยอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัยหทัยวัตถุ สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย อาศัยโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัยหทัยวัตถุ สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม อาศัยอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัยหทัยวัตถุ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายและจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ ฯลฯ สเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และ หทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และ อเหตุธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และ หทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และหทัย- *วัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ กฏัตตารูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย [๖๐] สเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย ขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และโมหะ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ อเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย หทัยวัตถุ จักขุวิญญาณ อาศัย จักขายตนะ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม อาศัย หทัยวัตถุ สเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัย หทัยวัตถุ สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย อาศัยโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ อาศัยหทัยวัตถุ สเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย ขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ หทัยวัตถุ สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และ โมหะ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ อาศัย ขันธ์ ๒ [๖๑] สเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย ในอธิปติปัจจัย พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๙ เฉพาะในปวัตติกาลเท่านั้น [๖๒] สเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสมนันตรปัจจัย [๖๓] ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับ ปฏิจจวาร อเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ ปฏิสนธิ ตลอดถึงอสัญญสัตว์ จักขุวิญญาณ อาศัย จักขายตนะ กายวิญญาณ อาศัย กายายตนะ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอเหตุกธรรม อาศัย หทัยวัตถุ สเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัย หทัยวัตถุ สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย อาศัย โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สเหตุกธรรม และ อเหตุกธรรม อาศัย อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ สหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม อาศัย หทัยวัตถุ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย มหาภูตรูปทั้งหลาย สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ ฯลฯ สเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ สหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม อาศัย สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ สหชาตปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ อาศัย ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทัยวัตถุ สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสเหตุกธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ และโมหะ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม และ หทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย [๖๔] สเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญ- *ปัจจัย ฯลฯ ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย [๖๕] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอารัมมณปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙ พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๖๖] อเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ เหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อเหตุกธรรม อาศัยอเหตุกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์ จักขุวิญญาณ อาศัย จักขายตนะ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม และโมหะ อาศัยหทยวัตถุ อเหตุกธรรม อาศัยสเหตุกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทยวัตถุ
ฯลฯ
[๖๗] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๓ พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๖๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียา จบ
[๖๙] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
นิสสยวาร เหมือนกับ ปัจจยวาร
สังสัฏฐวาร
[๗๐] สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ คลุกเคล้ากับโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สหรคตธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๗๑] สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ คลุกเคล้ากับ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และโมหะ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ อเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ คลุกเคล้ากับโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๗๒] สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อธิปติปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๗๓] สเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะ อนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ [๗๔] ฯลฯ เพราะวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นสเหตุกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม ซึ่งเป็นวิปาก ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ฯลฯ เพราะฌานปัจจัย ฯลฯ ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย [๗๕] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๖ ในอธิปติปัจจัย มี " ๑ ในอนันตรปัจจัย มี " ๖ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๖ ในสหชาตปัจจัย มี " ๖ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในนิสสยปัจจัย มี " ๖ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๖ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ฯลฯ ในวิปากปัจจัย มี " ๒ ในอาหารปัจจัย มี " ๖ ในอินทริยปัจจัย มี " ๖ ในฌานปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๖ ในมัคคปัจจัย มี " ๕ ในอวิคตปัจจัย มี " ๖ พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๗๖] อเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับสเหตุกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ เหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ คลุกเคล้า กับขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อเหตุกธรรม คลุกเคล้ากับอเหตุกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ คลุกเคล้ากับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ฯลฯ
[๗๗] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๖ พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๗๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๑๑๐๙-๑๓๘๕ หน้าที่ ๔๖-๕๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=1109&Z=1385&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=59&items=20              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=59&items=20&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=42&item=59&items=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=42&item=59&items=20              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=59              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42 https://84000.org/tipitaka/english/?index_42

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]