บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๑๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาราชิกดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ปาราชิก.วิเคราะห์สังฆาทิเสส [๑๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าสังฆาทิเสสดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะ กล่าวต่อไป. สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.วิเคราะห์อนิยต [๑๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บทอันพระผู้มีพระภาคทรง ทำแล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าอนิยต.วิเคราะห์ถุลลัจจัย [๑๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าถุลลัจจัยดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว. ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัยในที่ใกล้ภิกษุรูปหนึ่ง และภิกษุรับอาบัตินั้น โทษเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มีเพราะเหตุนั้น จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.วิเคราะห์นิสสัคคิยะ [๑๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่านิสสัคคิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ และต่อหน้าภิกษุ รูปหนึ่งๆ แล้วจึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึงเรียกข้อละเมิดนั้น ว่านิสสัคคิยะวิเคราะห์ปาจิตตีย์ [๑๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาจิตตีย์ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อมฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุ แห่งความลุ่มหลงแห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์.--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๔.
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ [๑๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาฏิเทสนียะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะ- กล่าวต่อไป. ภิกษุไม่มีญาติหาโภชนะได้ยากรับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ในที่นั้นตาม พอใจ ภิกษุไม่ห้ามฉันอยู่ในที่นั้น เรียกว่าต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุไม่ อาพาธไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย เขามิได้นำไปถวาย แล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่าที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหารที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่าต้อง ธรรมที่น่าติ. ภิกษุณีไม่มีญาติขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติในศาสนาของพระสุคต.วิเคราะห์ทุกกฏ [๑๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่าทำไม่ดี คนทำความชั่ว อันใดในที่แจ้งหรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่วเพราะเหตุนั้น กรรมนั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.วิเคราะห์ทุพภาสิต [๑๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าทุพภาสิตดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดีพูดไม่ดีและเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติเตียนบทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต.วิเคราะห์เสขิยะ [๑๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าเสขิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทางและเป็นข้อระวัง คือสำรวม ของพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขาทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น สิกขานั้นจึงเรียกว่า เสขิยะ.--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๕.
อุปมาอาบัติและอนาบัติ เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ย่อมรั่ว เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อมไม่รั่ว. ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย นิพพาน เป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์.คาถาสังคณิกะ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำเรื่อง [๑๐๔๕] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร ๑ วิบัติ ๔ อย่าง ๑ สิกขาบทของภิกษุและของภิกษุณีทั่วไป ๑ ไม่ทั่วไป ๑ นี้เป็นถ้อยคำที่รวม ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.หัวข้อประจำเรื่อง จบ ----------------------------------------------------- อธิกรณเภท ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่างเป็นต้น เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๙๕๗-๙๐๒๒ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8957&Z=9022&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1035&items=11&pagebreak=1&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1035&items=11&pagebreak=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1035&items=11&pagebreak=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1035&items=11&pagebreak=1&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1035 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]