บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
มหาสงคราม ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม [๑๐๘๗] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์ พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้ อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ พึงชี้แจงในสถานะควรชี้แจง พึงพินิจในสถานะควรพินิจ พึงเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ไม่พึงหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว ไม่พึงหมิ่นผู้มีสุตะน้อย--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๕.
ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึง พูดเรื่องที่ยังไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่นจากธรรมจากวินัย อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วย ธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้น ระงับด้วยอย่างนั้น.ว่าด้วยการรู้วัตถุ [๑๐๘๘] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึง รู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.ว่าด้วยการรู้วิบัติ [๑๐๘๙] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ.ว่าด้วยการรู้อาบัติ [๑๐๙๐] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติ ถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต.ว่าด้วยการรู้นิทาน [๑๐๙๑] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้ นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่ง นิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.ว่าด้วยการรู้อาการ [๑๐๙๒] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ พึงรู้จักคณะโดยอาการ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ. ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์ หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้ จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์หรือไม่หนอ.--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๖.
ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า บุคคล ผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ จักตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ.ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง [๑๐๙๓] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ.ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ [๑๐๙๔] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึงรู้ อนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุน. ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ๆ. ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิดของภิกษุอื่น ด้วย ปากของตน ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะให้เกิด.ว่าด้วยรู้กรรม [๑๐๙๕] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ พึงรู้อปโลกนกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม ๔ อย่าง.ว่าด้วยรู้อธิกรณ์ [๑๐๙๖] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๗.
ว่าด้วยรู้สมถะ [๑๐๙๗] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ ๗ คือ พึงรู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๗๗๗-๙๘๓๕ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9777&Z=9835&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1087&items=11&pagebreak=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1087&items=11&pagebreak=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1087&items=11&pagebreak=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1087&items=11&pagebreak=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1087 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]