ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
             [๑๑๙๑] อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
             พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก. ๕ จำพวก อะไรบ้าง? คือ:-
             ๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถืออยู่ป่า
             ๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถืออยู่ป่า
             ๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถืออยู่ป่า
             ๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า สรรเสริญ จึงถืออยู่ป่า
             ๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัย
ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถืออยู่ป่า
             ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล.
             อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้า มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืน มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวตามแถว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือการนั่ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธ
เจ้าข้า? ...
             อุ. ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตร มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
             พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก. ๕ จำพวกอะไรบ้าง? คือ:-
             ๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
             ๒. เพราะผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
             ๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
             ๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือฉันเฉพาะ
ในบาตร
             ๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และอาศัยความ
เป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถึงฉันเฉพาะในบาตร
             ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล.
ธุดงควรรคที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๑๙๒] ถืออยู่ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ถือทรงผ้าบังสุกุล ๑ ถืออยู่โคนไม้ ๑ ถืออยู่ป่าช้าเป็นที่ครบห้า ๑ ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ๑ ถือทรงผ้า ๓ ผืน ๑ ถือเที่ยวตามแถว ๑ ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือห้ามภัตรที่ เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง ๑ ถือฉันเฉพาะในบาตร ๑.
-----------------------------------------------------
มุสาวาทวรรคที่ ๗
มุสาวาท

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๑๔๒๐-๑๑๔๖๐ หน้าที่ ๔๓๘-๔๔๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11420&Z=11460&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1191&items=2&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1191&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1191&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1191&items=2&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1191              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]