ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
             [๑๒๑๑] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควรระงับอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า?
             พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง?
คือ:-
                          ๑. ไม่รู้อาบัติ
                          ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
                          ๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ
                          ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
                          ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
             ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ ๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ ๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ ๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. เป็นอลัชชี ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. เป็นลัชชี ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง ๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง ๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. ไม่ฉลาดในวินัย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. ฉลาดในวินัย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. เป็นผู้หนักสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์.
สงฆ์แตกกัน
[๑๒๑๒] อุ. สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕. อาการ ๕ อะไรบ้าง? คือ กรรม ๑ อุเทศ ๑ ชี้แจง ๑ สวดประกาศ ๑ ให้จับสลาก ๑ ดูกรอุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล.
สังฆราชีและสังฆเภท
[๑๒๑๓] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ที่ตรัสว่า ความร้าวรานแห่งสงฆ์นั้น ด้วยเหตุเพียง เท่าไร จึงเป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่งสงฆ์? อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นทั้งความร้าวรานแห่งสงฆ์ทั้งความแตกแห่งสงฆ์? พ. ดูกรอุบาลี อาคันตุกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุพวกอาคันตุกะ เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกอาคันตุกะไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร ดูกรอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่งสงฆ์. ดูกรอุบาลี อาวาสิกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุพวกเจ้าถิ่น เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร ดูกรอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่งสงฆ์. ดูกรอุบาลี ภัตตัคควัตรในโรงภัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุทั้งหลาย ตาม ลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะที่ดี น้ำที่สะอาด ก้อนข้าวที่ดี เมื่อ สิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับ พระเถระเสีย ดูกรอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่งสงฆ์. ดูกรอุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุทั้งหลาย ตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้ แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันเสนาสนะของพระเถระเสีย ดูกรอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่งสงฆ์. ดูกรอุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรมอย่างเดียวกัน กรรมใหญ่น้อยอย่างเดียวกัน ภายในสีมานั่น เราบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างทำความแตกแยกกัน แล้วคุมกันเป็นคณะ แยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม แยกทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั่นแหละ ดูกรอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นทั้งความร้าวรานแห่งสงฆ์ ทั้งความแตกแห่งสงฆ์แล.
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑๒๑๔] อาบัติ อธิกรณ์ ลำเอียงเพราะรักใคร่ ได้ยินได้ฟังน้อย วัตถุไม่ฉลาด บุคคล อามิส สงฆ์แตกกัน ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และความแตกแห่งสงฆ์.
-----------------------------------------------------
สังฆเภทวรรคที่ ๑๑
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๑๙๔๕-๑๒๑๑๕ หน้าที่ ๔๕๙-๔๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11945&Z=12115&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1211&items=4&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1211&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1211&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1211&items=4&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1211              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]