ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
วาทะของศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร
[๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ... ได้กล่าวว่า ท่านอัคคิเวสนะ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือพลช้าง... คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลป- *ศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน อย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้ว ด้วยสังวร ๔ ประการ เป็นไฉน? ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็น ผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ อย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่นิครนถ์เป็นผู้ สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉัน ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ เปรียบเหมือน เขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง ฉะนั้น หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉน คนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูนิครนถ์ นาฏบุตร ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจา แสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๒๘๖-๑๓๐๕ หน้าที่ ๕๓-๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1286&Z=1305&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=98&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=98&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=9&item=98&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=9&item=98&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=98              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]