ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
[๗๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความ เลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ซอกรักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดย วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องบัญญัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๕๘๘๙-๕๙๗๐ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=5889&Z=5970&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=72&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=72&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=72&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=72&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=72              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :