ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             [๒๗๗] ครั้งนั้น มาคัณฑิยปริพาชกเดินเที่ยวไปมาเพื่อแก้เมื่อย เข้าไปถึงโรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร. ได้เห็นเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์
ภารทวาชโคตร และได้กล่าวกะพราหมณ์ภารทวาชโคตรว่า ดูกรสหาย เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ใน
โรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ.
             ภา. มีอยู่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจากศากยสกุล กิตติศัพท์
อันงามของท่านพระโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เฉพาะเหตุนั้นๆ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ที่นอนนี้ปูไว้แล้วสำหรับท่านพระโคดมนั้น.
             มา. ท่านภารทวาชะ พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้กำจัดความเจริญนั้น
ชื่อว่าได้เห็นชั่ว.
             ภา. ดูกร มาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ดูกรท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจา
นี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีที่เป็นบัณฑิตก็ดี
สมณะที่เป็นบัณฑิตเป็นอันมากก็ดี พากันเลื่อมใสยิ่งนักต่อท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่าน
พระโคดมทรงแนะนำในธรรมที่มีเหตุอันบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.
             มา. ท่านภารทวาชะ ถ้าแม้พวกเราได้พบท่านพระโคดมนั้นต่อหน้า เราก็พึงกล่าวกะ
ท่านพระโคดมต่อหน้าว่า พระสมณโคดมผู้กำจัดความเจริญ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า
คำเช่นนี้ลงกันในสูตร ของเราทั้งหลาย.
             ภา. ถ้าการที่จะกล่าวนั้น ไม่เป็นการหนักแก่ท่านมาคัณฑิยะ ข้าพเจ้าจักทูลกะพระ-
*สมณโคดมพระองค์นั้น.
             มา. ท่านภารทวาชะ จงมีความขวนขวายน้อยเถิด เราได้ว่าไว้แล้ว ก็พึงกล่าวกะ
พระองค์เถิด.


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๔๗๗๘-๔๗๙๙ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4778&Z=4799&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=277&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=277&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=277&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=13&item=277&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=277              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :