ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             [๔๕๑] ท่านรัฐปาละได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้อื่น
อีกว่า
                          เราเห็นมนุษย์ทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์
                          แล้วย่อมไม่ให้เพราะความหลง โลภแล้วย่อมทำการสั่งสมทรัพย์
                          และยังปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป พระราชาทรงแผ่อำนาจ
                          ชำนะตลอดแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด
                          มิได้ทรงรู้จักอิ่มเพียงฝั่งสมุทรข้างหนึ่ง ยังทรงปรารถนาฝั่งสมุทร
                          ข้างโน้นอีก พระราชาและมนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมาก ยังไม่สิ้น
                          ความทะเยอทะยาน ย่อมเข้าถึงความตาย เป็นผู้พร่องอยู่ ละร่างกาย
                          ไปแท้ ความอิ่มด้วยกามย่อมไม่มีในโลกเลย อนึ่ง ญาติ
                          ทั้งหลายพากันสยายผมคร่ำครวญถึงผู้นั้น พากันกล่าวว่า ได้ตาย
                          แล้วหนอ พวกญาตินำเอาผู้นั้นคลุมด้วยผ้าไปยกขึ้นเชิงตะกอน
                          แต่นั้นก็เผากัน ผู้นั้น เมื่อกำลังถูกเขาเผา ถูกแทงอยู่ด้วยหลาว
                          มีแต่ผ้าผืนเดียว ละโภคสมบัติไป ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือ
                          สหายทั้งหลายเป็นที่ต้านทานของบุคคลผู้จะตายไม่มี ทายาท
                          ทั้งหลายก็ขนเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วนสัตว์ย่อมไปตามกรรม
                          ที่ทำไว้ ทรัพย์อะไรๆ ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้ บุตร ภรรยา
                          ทรัพย์ และแว่นแคว้นก็เช่นนั้น บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วย
                          ทรัพย์ และย่อมไม่กำจัดชราได้ด้วยทรัพย์ นักปราชญ์ทั้งหลาย
                          กล่าวชีวิตนี้ ว่าน้อยนัก ว่าไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็น
                          ธรรมดา ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ ทั้ง
                          คนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะเหมือนกัน แต่คนพาล
                          ย่อมนอนหวาดอยู่ เพราะความที่ตนเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์
                          อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้นแล ปัญญา
                          จึงประเสริฐกว่าทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้ คน
                          เป็นอันมาก ทำบาปกรรมเพราะความหลงในภพน้อยภพใหญ่
                          เพราะไม่มีปัญญาเครื่องให้ถึงที่สุด สัตว์ที่ถึงการท่องเที่ยวไปมา
                          ย่อมเข้าถึงครรภ์บ้าง ปรโลกบ้าง ผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญานั้น
                          ย่อมเชื่อได้ว่า จะเข้าถึงครรภ์และปรโลก หมู่สัตว์ผู้มีบาป
                          ธรรม ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตนเอง
                          ในโลกหน้า เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะ
                          โจรกรรม มีตัดช่อง เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของ
                          ตนเอง ฉะนั้น ความจริง กามทั้งหลายวิจิตร รสอร่อยเป็นที่รื่น
                          รมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิต ด้วยรูปมีประการต่างๆ มหาบพิตร
                          อาตมภาพเห็นโทษในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงบวชเสีย
                          สัตว์โลกทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ เมื่อสรีระทำลายไป ย่อมตก
                          ตายไป เหมือนผลไม้ทั้งหลายที่ร่วงหล่นไป มหาบพิตร อาตมภาพ
                          รู้เหตุนี้จึงบวชเสีย ความเป็นสมณะ เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด
                          เป็นผู้ประเสริฐแท้ ดังนี้แล.
จบ รัฐปาลสูตร ที่ ๒.
-----------------------------------------------------
๓. มฆเทวสูตร
เรื่องพระเจ้ามฆเทวะ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๗๒๐๘-๗๒๕๐ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7208&Z=7250&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=451&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=451&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=451&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=13&item=451&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=451              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :