ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๑๖๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ
เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล
อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ
ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย
นำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
             [๑๖๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณ
เท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่
จะนับประมาณมิได้.
             [๑๖๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณน้ำในมหาสมุทรว่า ประมาณ
เท่านี้อาฬหกะ ๑- หรือว่าร้อยอาฬหกะ พันอาหฬกะ แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้
น้ำย่อมถึงความนับว่า เป็นกองน้ำใหญ่ จะนับประมาณมิได้ แม้ฉันใด ใครๆ จะประมาณบุญ
ของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำ
มาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความ
นับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
พระพุทธพจน์นี้ว่า
@๑. ๑ อาฬหกะ เท่ากับ ๔ ทะนาน ฯ
             [๑๖๐๖] 	แม่น้ำเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชนอาศัยแล้ว ไหลไปยังสาคร
                          ทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำอย่างใหญ่ มีสิ่งที่น่ากลัว
                          มาก เป็นที่อยู่ของหมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่
                          นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่งและเครื่องปูลาด
                          เหมือนแม่น้ำไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑
อภิสันทสูตรที่ ๒
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๕๒๐-๙๕๔๙ หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9520&Z=9549&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=19&item=1603&items=4&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=19&item=1603&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1603&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=19&item=1603&items=4&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1603              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :