ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
สิกขาบทวิภังค์
[๗๑] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็น อารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง. ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ท่านผู้ทรงราชย์ ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยงของพระราชา ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด. ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์ พราหมณ์ นอกนั้น ชื่อว่าคหบดี. ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย. ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมา เฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ, ภิกษุ ผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คนนั้น หรือว่า คนนั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่า คนนั้นจักจ่าย: ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกร นั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว, ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล, ภิกษุผู้ ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร; อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้ แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้ครั้งที่สาม, ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการ ดี, ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้, พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาวัจกรนั้น, ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่ พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม, เมื่อเขาถามว่ามาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด, ถ้านั่งบน อาสนะก็ดี รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย, พึงยืนได้แม้ครั้งที่สอง พึงยืน ได้ แม้ครั้งที่สาม ทวง ๔ ครั้งแล้ว; พึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้งแล้ว, พึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้ว, จะพึงยืนไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็น ทุกกฏในประโยคที่พยายาม, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย- *สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ แล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ในประโยคว่า ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะ ภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของ ท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย: นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ดังนี้: ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๗๑-๑๖๓๕ หน้าที่ ๖๖-๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1571&Z=1635&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=71&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=71&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=71&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=71&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=71              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :