ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
สิกขาบทวิภังค์
[๙๘] บทว่า ... แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุเดินทาง. บทว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตร ก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม. บทว่า ต้องการ คือ เมื่อปรารถนา ก็พึงรับได้. คำว่า ครั้นรับแล้ว ... พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็น อย่างมาก คือ นำไปด้วยมือของตนเองได้ ชั่วระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างไกล. บทว่า เมื่อคนถือไม่มี ความว่า คนอื่น คือ สตรี หรือบุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต สักตนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยถือไปไม่มี. คำว่า ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี อธิบายว่า เธอก้าวเกิน ๓ โยชน์ เท้าแรก, ต้องอาบัติทุกกฏ. เท้าที่สอง ขนเจียมเหล่านั้น, เป็นนิสสัคคีย์. เธอยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมลงนอกระยะ ๓ โยชน์, ก็เป็นนิสสัคคีย์. ซ่อนไว้ในยานพาหนะก็ตาม ในห่อถุงก็ตาม ของคนอื่น ซึ่งเขาไม่รู้ ให้ล่วง ๓ โยชน์ไป, ก็เป็นนิสสัคคีย์. คือ เป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ที่ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วง ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้. เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึง ที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อ.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละ ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๓๑๕-๒๓๕๗ หน้าที่ ๙๖-๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2315&Z=2357&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=98&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=98&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=98&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=98&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=98              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :