ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
คูถภาณีสูตร
[๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลที่พูดถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ ๑ บุคคลที่ พูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้ ๑ บุคคลที่พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในสภาก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนา ก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างใด จงกล่าวอย่างนั้น เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ ไม่เห็น กล่าวว่าเห็น หรือเห็นกล่าวว่าไม่เห็น แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไป ในสภาก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้ อย่างใด จงกล่าวอย่างนั้น เขาเมื่อไม่รู้กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อ ไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วย ประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลพูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้งเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะ โสต เป็นที่รัก จับหัวใจ เป็นวาจาชาวเมือง เป็นถ้อยคำที่ชนเป็นอันมากพอใจ ชอบใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๘


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๓๔๙-๓๓๗๒ หน้าที่ ๑๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3349&Z=3372&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=467&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=467&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=467&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=467&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=467              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :