บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ฉบับหลวง บาลีอักษรไทย PaliRoman |
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อความ รู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...๑ ย่อม พิจารณาเห็นจิตในจิต...๑ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ ... เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิด ขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ...๑ จิตตสมาธิ...๑ วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งราคะ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๒.
เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯจบจตุกกนิบาต ฯ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๗๘๖-๖๘๑๓ หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=6786&Z=6813&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=274&items=1&pagebreak=1&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=274&items=1&pagebreak=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=274&items=1&pagebreak=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=274&items=1&pagebreak=1&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=274 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21
บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]