ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อุทายสูตร
[๔๐] ครั้งนั้นแล อุทายพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า แม้พระโคดม ผู้เจริญย่อมกล่าวสรรเสริญยัญของพวกข้าพเจ้าหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิได้สรรเสริญยัญไปทุกอย่าง และก็มิได้ติเตียนยัญไปทุกอย่าง ดูกรพราหมณ์ ในยัญชนิดใด มีการฆ่าโค ฆ่าแพะ แกะ ฆ่าไก่ สุกร สัตว์ ต่างชนิดถูกฆ่า เราไม่สรรเสริญยัญเห็นปานนี้ อันประกอบด้วยความริเริ่ม ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค ย่อมไม่เกี่ยวข้องยัญ เห็นปานนั้น อันประกอบด้วยความริเริ่ม แต่ในยัญชนิดใดไม่มีการฆ่าโค ไม่มี การฆ่าแพะ แกะ ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร สัตว์ต่างชนิดไม่ถูกฆ่า เราย่อมสรรเสริญ ยัญเห็นปานนี้ อันปราศจากความริเริ่ม ได้แก่นิจทาน อนุกุลยัญ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค ย่อมเกี่ยวข้องยัญเห็นปานนี้ อันปราศจากความริเริ่ม ฯ ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว ย่อม สรรเสริญยัญชนิดที่กระทำเป็นหมวด ไม่มีความริเริ่ม ควร โดยกาลเช่นนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ฉลาดต่อบุญ ผู้มีกิเลส เพียงดังว่าหลังคาอันเปิดแล้วในโลก ผู้ล่วงเลยตระกูลและคติ ไปแล้ว ย่อมสรรเสริญยัญชนิดนี้ ถ้าบุคคลกระทำการบูชา ในยัญ หรือในมตกทานตามสมควร มีจิตเลื่อมใส บูชา ในเนื้อนาอันดี คือ พรหมจารีบุคคลทั้งหลาย ยัญที่บุคคล บูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว สมบูรณ์แล้ว อันบุคคลกระทำ แล้วในทักขิเณยยบุคคลทั้งหลาย ย่อมเป็นยัญไพบูลย์ และ เทวดาย่อมเลื่อมใส บัณฑิตผู้มีเมธาเป็นผู้มีศรัทธา มีใจ อันสละแล้ว บูชายัญอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันปราศจาก ความเบียดเบียน เป็นสุข ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบจักกวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร ๓. สีหสูตร ๔. ปสาทสูตร ๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร ๗. อปริหานิสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร ๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายสูตร ฯ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๑๕๔-๑๑๘๗ หน้าที่ ๔๙-๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1154&Z=1187&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=40&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=40&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=40&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=40&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=40              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :