ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สิลายูปสูตรที่ ๒
[๒๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระจันทิกาบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่าน พระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อม แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุ อบรมจิตด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว กะท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๑.

ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ แม้ครั้งที่ ๒ ... ฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุ นั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว กะท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ดูกรอาวุโส ก็ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิตอย่างไร คือ อบรมจิตให้ดีด้วย จิตอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจากราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว จิต ของเราปราศจากโมหะแล้ว จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มี โทสะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาใน กามภพเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาในรูปภพเป็นธรรมดา จิตของเราไม่ เวียนมาในอรูปภพเป็นธรรมดา ดูกรอาวุโส ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอย่าง หยาบๆ ผ่านมาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ รูปเหล่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๒.

นั้นก็ครอบงำจิตเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่น ถึงความ ไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะ พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่พึงจะรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์นั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง ธรรมารมณ์นั้น ดูกรอาวุโส เปรียบเหมือนเสาหิน ยาว ๑๖ ศอก หยั่งลงไป ในหลุม ๘ ศอก ข้างบนหลุม ๘ ศอก ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพา เสาหินนั้นไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศ ประจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ เสาหินนั้นก็ไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหลุมลึกและเพราะเสาหินฝังลึก ฉันใด ดูกรอาวุโส ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลอง จักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอ ไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอย่างหยาบๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วย ธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความ เสื่อมไปแห่งธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๕๗๒-๘๖๓๑ หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8572&Z=8631&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=23&item=230&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=23&item=230&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=230&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=23&item=230&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=230              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :