ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
[๑๕] ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า สงสาร ยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน หรือสหายผู้เช่นด้วย ตนไซร้ บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น เพราะว่า คุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้ ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน ทรัพย์แต่ ที่ไหน ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้ ด้วย เหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล ถ้าคน พาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่ง ใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือน ลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อม เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลมีหน้า ชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อน ในภายหลัง กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี บุคคลอันปีติโสมนัส เข้าถึงแล้ว [ด้วยกำลังแห่งปีติ] [ด้วยกำลังแห่งโสมนัส] ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี คนพาล ย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น คนพาล ถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือนๆ เขาย่อมไม่ถึง เสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของพระอริย บุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว ก็บาปกรรมบุคคล ทำแล้วยังไม่แปรไป เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไป ฉะนั้น บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า ปกปิดแล้ว ฉะนั้น ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาลเพื่อสิ่งมิใช่ ประโยชน์อย่างเดียว ความรู้ ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขา ให้ฉิบหายตกไป ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ ความ ห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และ การบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย จงสำคัญ กรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว คฤหัสถ์และ บรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว ในบรรดา กิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ อิจฉา [ความริษยา] มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น ภิกษุ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่าง นี้ว่า ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง ปฏิปทาเครื่อง ให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน สักการะ พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ ฯ
จบพาลวรรคที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๔๓๔-๔๗๘ หน้าที่ ๒๐-๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=434&Z=478&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=15&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=15&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=15&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=15&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :