ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗
[๑๗] ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีทางไกลอันถึงแล้ว ผู้มีความ โศกปราศไปแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ผู้มีกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวงอันละได้แล้ว ท่านผู้มีสติย่อมขวนขวาย ท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือน หงส์สละเปือกตมไป ฉะนั้น ชนเหล่าใดไม่มีการสั่งสม มีโภชนะอันกำหนดแล้ว มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร คติของชนเหล่านั้น รู้ได้โดยยาก เหมือนคติ ฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น ภิกษุใดมีอาสวะสิ้นแล้ว อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้วในอาหาร มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตต วิโมกข์เป็นโคจร รอยเท้าของภิกษุนั้นไปตามได้โดยยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น อินทรีย์ของภิกษุ ใดถึงความสงบระงับ เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะ อันละได้แล้ว หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่ ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน ผู้คงที่ เปรียบดังเสาเขื่อน มีวัตรดี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔.

ปราศจากกิเลสเพียงดังเปือกตม ผ่องใส เหมือนห้วงน้ำที่ ปราศจากเปือกตมมีน้ำใส ย่อมไม่พิโรธ สงสารทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้คงที่ มีอาสวะสิ้นแล้ว เช่นนั้น ใจ วาจา และกายกรรมของภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะ รู้โดยชอบ สงบระงับ คงที่ เป็นธรรมชาติสงบแล้ว นรชนใด ไม่เชื่อต่อผู้อื่น รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำไม่ได้ ผู้ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันขจัดแล้ว มีความหวังอันคลายแล้ว นรชนนั้น แลเป็นบุรุษผู้สูงสุด พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใดคือ บ้านหรือป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่นั้นเป็นภาคพื้นอันบุคคล พึงรื่นรมย์ ชนไม่ยินดีในป่าเหล่าใด ป่าเหล่านั้น ควร รื่นรมย์ ผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าเห็น ปานนั้น เพราะว่าท่านไม่ใช่ผู้แสวงหากาม ฯ
จบอรหันตวรรคที่ ๖


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๑๕-๕๔๓ หน้าที่ ๒๓-๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=515&Z=543&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=17&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=17&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=17&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=17&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :