ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๔๓.

คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
[๓๐] ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอัน พระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย ทางนี้เท่า นั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็น ที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนิน ไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราทราบชัดธรรม เป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออก บอกทางแก่ท่านทั้งหลาย แล้ว ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไปแล้ว ผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้ เมื่อใด บุคคล พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อ ใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความ หมดจด เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็น ทางแห่งความหมดจด บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาล เป็นที่ลุกขึ้น เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอัน จมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน คนเกียจคร้านย่อม ไม่ประสพทางแห่งปัญญา บุคคลพึงตามรักษาวาจา พึง สำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงทำอกุศลด้วยกาย พึงชำระ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔.

กรรมบถ ๓ ประการนี้ให้หมดจด พึงยินดีมรรคที่ฤาษีประ- กาศแล้ว ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความ ประกอบโดยแท้ ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความ เจริญและความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญา เพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้ ท่านทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายตัดป่าและหมู่ไม้ในป่าแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีป่า เพราะ กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าแม้ประมาณน้อยในนารีของนระ ยังไม่ ขาดเพียงใด นระนั้นยังมีใจเกาะเกี่ยว ดุจลูกโคผู้ดื่มกิน น้ำนม มีใจเกาะเกี่ยวในมารดาเพียงนั้น ท่านจงตัดความรัก ของตนเสีย ดุจบุคคลเด็ดดอกโกมุทอันเกิดในสรทกาลด้วย ฝ่ามือ ท่านจงเพิ่มพูนทางสงบอย่างเดียว นิพพานอันพระ สุคตทรงแสดงแล้ว คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่ นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน ดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและ ปสุสัตว์มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่ง ที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อม ไม่มีเพื่อความต้านทาน ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติ ทั้งหลาย บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว พึงเป็นผู้ สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลัน ทีเดียว ฯ
จบมรรควรรคที่ ๒๐


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๘๖-๑๐๓๔ หน้าที่ ๔๓-๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=986&Z=1034&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=30&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=30&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=30&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=30&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :