ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๓๘๗] 	ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็น
                          เหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุพภาษิต ผู้
                          ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ
                          ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษ
                          นั้น การแพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนันเป็นโทษเพียง
                          เล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้
                          แล เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว
                          เป็นผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาลประมาณ
                          ด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะและ ๔๐ อัพพุทะ ผู้
                          กล่าวคำเท็จย่อมเข้าถึงนรก อนึ่ง ผู้ทำกรรมอันลามกแล้ว
                          กล่าวว่าไม่ได้ทำ ก็ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียวกัน แม้คนทั้ง
                          สองนั้นเป็นมนุษย์มีกรรมอันเลวทราม ละไปแล้วย่อมเป็นผู้
                          เสมอกันในโลกเบื้องหน้า ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษ
                          ร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อม
                          กลับมาถึงผู้เป็นพาลนั้นเอง เหมือนธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไป
                          ทวนลมฉะนั้น ผู้ที่ประกอบเนืองๆ ในคุณคือความโลภ
                          ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความ
                          ตระหนี่ ประกอบเนืองๆ ในคำส่อเสียด ย่อมบริภาษผู้อื่น
                          ด้วยวาจา แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม กล่าวคำอันไม่จริง ผู้
                          ไม่ประเสริฐ ผู้กำจัดความเจริญ ผู้ลามก ผู้กระทำความชั่ว
                          ผู้เป็นบุรุษในที่สุด มีโทษ เป็นอวชาต ท่านอย่าได้พูด
                          มากในที่นี้ อย่าเป็นสัตว์นรก ท่านย่อมเกลี่ยธุลี คือ กิเลส
                          ลงในตนเพื่อกรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ท่านผู้ทำกรรมหยาบ
                          ยังติเตียนสัตบุรุษ ท่านประพฤติทุจริตเป็นอันมากแล้วย่อม
                          ไปสู่มหานรกสิ้นกาลนาน กรรมของใครๆ ย่อมฉิบหายไปไม่
                          ได้เลย บุคคลมาได้รับกรรมนั้นแล เป็นเจ้าของแห่งกรรมนั้น
                          (เพราะ) คนเขลาผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ในตน
                          ในปรโลก ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึงสถานที่อันนายนิรยบาล
                          นำขอเหล็กมา ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบและย่อม
                          เข้าถึงก้อนเหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่กรรม
                          ที่ตนทำไว้อย่างนั้น สัตว์นรกทั้งหลายจะพูดก็พูดไม่ได้ จะ
                          วิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่ได้ที่ต้านทานเลย นายนิรยบาลลากขึ้นภูเขา
                          ถ่านเพลิง สัตว์นรกนั้นนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ ย่อม
                          เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง พวกนายนิรยบาลเอาข่ายเหล็ก
                          พัน ตีด้วยค้อนเหล็กในที่นั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อมไปสู่
                          โรรุวนรกที่มืดทึบ ความมืดทึบนั้นแผ่ไปเหมือนกลุ่มหมอก
                          ฉะนั้น ก็ทีนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเข้าไปสู่หม้อเหล็ก
                          อันไฟลุกโพลง ลอยฟ่องอยู่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นอันไฟ
                          ลุกโพลงสิ้นกาลนาน ก็ผู้ทำกรรมหยาบจะไปสู่ทิศใดๆ ก็
                          หมกไหม้อยู่ในหม้อเหล็กอันเปื้อนด้วยหนองและเลือดในทิศ
                          นั้นๆ ลำบากอยู่ในหม้อเหล็กนั้น ผู้ทำกรรมหยาบหมกไหม้
                          อยู่ในน้ำอันเป็นที่อยู่ของหมู่หนอน ในหม้อเหล็กนั้นๆ แม้
                          ฝั่งเพื่อจะไปก็ไม่มีเลย เพราะกระทะครอบอยู่โดยรอบมิดชิด
                          ในทิศทั้งปวง และยังมีป่าไม้มีใบเป็นดาบคม สัตว์นรก
                          ทั้งหลายย่อมเข้าไปสู่ป่าไม้ ถูกดาบใบไม้ตัดหัวขาด พวกนาย
                          นิรยบาล เอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นออกแล้ว ย่อมเบียดเบียนด้วยการ
                          ดึงออกมาๆ ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อมเข้าถึงแม่น้ำด่าง
                          อันเป็นหล่ม ย่อมเข้าถึงคมมีดโกนอันคมกริบ สัตว์นรกทั้งหลาย
                          ผู้กระทำบาป เป็นผู้เขลา ย่อมตกลงไปบนคมมีดโกนนั้นเพราะ
                          ได้กระทำบาปไว้ ก็สุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก ย่อม
                          รุมกัดกินสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ร้องไห้อยู่ที่นั้น ฝูงกาดำ แร้ง
                          นกตะกรุม และกาไม่ดำ ย่อมรุมกันจิกกิน คนผู้ทำกรรม
                          หยาบ ย่อมเห็นความเป็นไปในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้น
                          นรชนพึงเป็นผู้ทำกิจที่ควรทำในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ และไม่
                          พึงประมาท เกวียนบรรทุกงา ผู้รู้ทั้งหลายนับแล้วนำเข้าไป
                          เปรียบในปทุมนรก เป็น ๕๑,๒๐๐ โกฏิ นรกเป็นทุกข์
                          เรากล่าวแล้วในพระสูตรนี้ เพียงใด สัตว์ทั้งหลายผู้ทำ
                          กรรมหยาบ พึงอยู่ในนรกแม้นั้น ตลอดกาลนานเพียงนั้น
                          เพราะฉะนั้น  บุคคลพึงกำหนดรักษาวาจา ใจ ให้เป็นปรกติ
                          ในผู้สะอาด มีศีลเป็นที่รักและมีคุณดีงามทั้งหลาย ฯ
จบโกกาลิกสูตรที่ ๑๐


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๔๙๕-๙๕๕๕ หน้าที่ ๔๑๒-๔๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=9495&Z=9555&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=387&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=387&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=387&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=387&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=387              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :