บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ฉบับหลวง บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๖. ปิลินทวัจฉสูตร [๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป- *สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียก ภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อม ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปเรียกปิลินทวัจฉภิกษุมาตามคำของเราว่า ดูกรอาวุโสวัจฉะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านปิลินทวัจฉะว่า ดูกรอาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระปิลินทวัจฉะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ดูกรปิลินทวัจฉะได้ยินว่า เธอย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ท่านพระปิลินทวัจฉะ ทูลรับว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการถึงขันธ์อันมีในก่อนของท่าน พระปิลินทวัจฉะ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่ายกโทษวัจฉภิกษุเลย วัจฉภิกษุย่อมไม่มุ่งโทษ เรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อย วัจฉภิกษุเกิดในสกุลพราหมณ์ ๕๐๐ ชาติ โดยไม่เจือปนเลย วาทะว่า คนถ่อยนั้นวัจฉภิกษุประพฤติมานาน เพราะเหตุนั้น วัจฉภิกษุนี้ย่อมร้องเรียก ภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า มายา มานะ ย่อมไม่เป็นไปในผู้ใด ผู้ใดมีความโลภสิ้น ไปแล้ว ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง บรรเทา ความโกรธได้แล้ว มีจิตเย็นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสมณะ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯจบสูตรที่ ๖ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๒๗๘-๒๓๐๖ หน้าที่ ๙๙-๑๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=2278&Z=2306&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=78&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=78&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=78&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=78&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=78 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25
บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]