ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
             [๔๐๐] 	พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า
                          ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดี
                          เฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วย
                          ดีในภายใน พึงทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือ
                          การอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ
                          อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่ง
                          พระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ภิกษุ
                          ผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี
                          เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง
                          ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการอยู่โคน
                          ไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร
                          อันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือน
                          ช้างกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.
             อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วยอำนาจ
             สอนหญิงเพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า
                          เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทา
                          ด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
                          น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกาย
                          ของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้เหมือนนาง-
                          ปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๖.

สรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบ สะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสีย ห่างไกล ฉะนั้น. เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบพระเถระเป็นคาถา ความว่า ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่คน บางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตามใจชอบเช่นนี้ไม่มี ประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าวเป็นคาถา ๒ คาถาความว่า ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อมอย่างอื่น การกระทำ ของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรานี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่น ด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามกของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อมถึงความ พินาศ ฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผล ทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพา กันดำริโดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด. พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็นเหตุจึงกล่าวคาถา ขึ้น ๔ คาถาความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๗.

เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มี ความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปร- ปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอด ธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร ฉะนั้น. พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่งคาถาความว่า ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือน บุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่ บนศีรษะตน ฉะนั้น ภิกษุผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคซึ่งได้ทรงอบรม พระองค์มาแล้วผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหวด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคล ปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลด- เปลื้อง กิเลส เครื่อง ร้อยกรอง ทั้งปวงด้วยกำลังความเพียร อันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรชอบ ๔ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็น บุรุษผู้สูงสุดชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาปัณฑว- บรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้ง เทวดากราบไหว้ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาท แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็น กษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวทนา ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยว ๑๖ อันจำแนก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๘.

ออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้กระกัสสปนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลา เช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยว ไปบิณฑบาต ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เถิด จงรีบประณมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย, พระ- โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไป สู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่น- สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดู ท่านพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณ ที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วย พรหมชั้นพรหมปโรหิต ได้พากันมาประณมอัญชลีนมัสการพระโมคคัล- ลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิร- ทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมค- คัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้วไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วย น้ำ ฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วย ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของ สัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรม ชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุด อย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญ ในฤทธิ์พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัล- ลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖๙.

มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสียอย่างเด็ดขาด เหมือนกับ กุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไป ฉะนั้น เราคุ้น เคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เราบรรลุ ถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธุระและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมกไหม้ อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือ เป็นนรกที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และ เป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียด เบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุ- สันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมาน ทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้ว ไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่ นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวก แห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุ รูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์ เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มี- ธรรมดา ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๐.

วิมุติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูก ถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว แก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้ารู้กรรมและผลกรรมโดย- ประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูกรอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่ บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็น ผิดอยู่เหมือนก่อน คือ ท่านยังเห็นอยู่ว่า บนพรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่ง ออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้ เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือ ไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่ง ออกไปได้เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมี ความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผล- กรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูกรมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะ ไหม้คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ไหม้ตนเอง ฉันใด ดูกรมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่นะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๑.

พระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง. ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดด้วยประการฉะนี้แล.
-----------------------------------------------------
ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียว เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๘ คาถา.
จบ สัฏฐิกนิบาต.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗๒.

เถรคาถา มหานิบาต
๑. วังคีสเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ
พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ๆ ได้เห็นสตรีหลายคนล้วนแต่แต่งตัวเสียงดงาม พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทาความกำหนัดยินดีได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๙ คาถาสอนตนเอง ความว่า

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๔๘๑-๘๖๔๘ หน้าที่ ๓๖๕-๓๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=8481&Z=8648&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=400&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=400&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=400&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=26&item=400&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=400              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :