ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๔๙๑.

[๙๘๕] ชื่อว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว คือ ภิกษุผู้เป็น กัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เสขะ. คำว่า มีสติ ความว่า ความระลึก ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบด้วย สตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่ามีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. คำว่า เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษ ดีแล้ว ความว่า จิตของภิกษุผู้เข้าปฐมฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เข้าทุติยฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิตกและวิจาร จิตของภิกษุผู้เข้าตติย- *ฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากปีติ จิตของภิกษุผู้เข้าจตุตถฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดี แล้วจากสุขและทุกข์ จิตของภิกษุผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา จิตของภิกษุผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากอากาสานัญจายตนสัญญา จิตของภิกษุผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิญญาณัญจายตนสัญญา จิตของภิกษุผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากอากิญจัญญายตนสัญญา จิตของพระโสดาบัน พ้น พ้นวิเศษ พ้น วิเศษดีแล้วจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจาก เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น จิตของพระสกทาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียว กันกับกามราคานุสัยเป็นต้นนั้น จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากกาม- *ราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด และจากเหล่ากิเลส ที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้น วิเศษดีแล้วจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชา- *นุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๗๐๐-๑๑๗๒๐ หน้าที่ ๔๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11700&Z=11720&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=985&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=985&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=985&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=29&item=985&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=985              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :