ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีภัททากาปิลานีจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เธอมีกิจจำเป็นบางอย่าง จึงสื่อสารไปในสำนักภิกษุณีถุลลนันทาว่า ถ้าแม่เจ้าถุลลนันทาให้ห้องพัก แก่ดิฉันๆ จะไปกรุงสาวัตถี. ภิกษุณีถุลลนันทาตอบไปอย่างนี้ว่า มาเถิด ดิฉันจักให้. ดังนั้นภิกษุณีภัททากาปิลานีจึงเดินทางจากเมืองสาเกต ไปถึงกรุงสาวัตถี ภิกษุณีถุลลนันทา ก็ได้ให้ห้องพักแก่นาง. ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถเจรจา ถ้อยคำมีหลักฐาน. แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถ เจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน ทั้งได้รับการสรรเสริญยิ่งกว่า คนทั้งหลายลงความเห็นกันว่า แม่เจ้า ภัททากาปิลานีเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน มีคนนิยมยิ่งกว่า จึงพากันเข้าไปหาเธอก่อน แล้วจึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็น คนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดาภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้ เข้าใจ เนื้อความ แจ่มแจ้งเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนี้ จึงโกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุณีภัททากาปิลานีออกจากห้องพัก. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาให้ที่พักแก่แม่เจ้าภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ให้ที่พักแก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไป จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ห้องพักแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๗๗๗-๓๘๐๘ หน้าที่ ๑๖๕-๑๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3777&Z=3808&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=272&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=272&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=272&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=272&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=272              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :