ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๔๘๙] คำว่า เป็นพราหมณ์ ในอุเทศว่า พฺราหฺมณสฺส วุสีมโต ดังนี้ ความว่า
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการแล้ว. ฯลฯ บุคคลอันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
แล้ว เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์.
             คำว่า อยู่จบพรหมจรรย์ ความว่า เสขบุคคล ๗ พวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่
อยู่ร่วม อยู่ทั่ว อยู่รอบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทำกรณียกิจเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว
มีประโยชน์ตนอันถึงแล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นกิเลสแล้วเพราะรู้โดย
ชอบ. พระอรหันต์นั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ อยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้มี
สงสาร คือ ชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพต่อไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์อยู่จบ
พรหมจรรย์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๓.

บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้ ครั้นรู้จักกรรมนั้น อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัติ นั้น. นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์ อยู่จบพรหมจรรย์. พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ ข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ โปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๔.

โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๔๕๐๐-๔๕๒๐ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=4500&Z=4520&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=30&item=489&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=30&item=489&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=489&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=30&item=489&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=489              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :