ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๕๒๙] สัมมาทิฐิเป็นมรรคแห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคแห่ง
ความดำริ สัมมาวาจาเป็นมรรคแห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นมรรคแห่ง
สมุฏฐาน สัมมาอาชีวะเป็นมรรคแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นมรรคแห่ง
ความประคองไว้ สัมมาสติเป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นมรรคแห่ง
ความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความแผ่ซ่านไป
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่ง
ความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการพิจารณาหาทาง สัทธา-
*พละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นมรรค
แห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นมรรคแห่งความไม่
หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปใน
อุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์
เป็นมรรคแห่งความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นมรรคแห่งความประคองไว้
สตินทรีย์เป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นมรรคแห่งความเห็น อินทรีย์เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละ
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นมรรคเพราะอรรถว่านำออก
ชื่อว่ามรรคเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
สัมมัปปธานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นมรรคเพราะอรรถว่าให้
สำเร็จ สัจจะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าถ่องแท้ สมถะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่
ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็น
มรรคเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นมรรคเพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นมรรค
เพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าปล่อย ญาณในความสิ้นไปเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะ
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่
รวม สมาธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็น
ใหญ่ ปัญญาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นธรรมอันยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็น
ที่สุด ฯ
จบมรรคกถา ฯ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๓๔๐-๗๓๗๒ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7340&Z=7372&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=529&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=529&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=529&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=529&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=529              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :