ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๙] 	สมัยต่อมาจากพระอโนมทัสสีบรมศาสดา พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่า
                          สรรพสัตว์ มีพระนามว่าชื่อปทุม ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ศีล
                          ของพระองค์หาเสมอไม่ แม้สมาธิก็ไม่มีที่สุด พระญาณอันประเสริฐ
                          นับไม่ถ้วน แม้วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ แม้ในคราวที่พระองค์ผู้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๖.

ทรงเดชไม่มีอะไรเทียบเท่าทรงประกาศธรรมจักรธรรมาภิสมัยอัน กำจัดความมืดตื้อได้มี ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระพุทธธีรเจ้าทรงยังสัตว์ให้ ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ ทรงยังสัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ และ ในคราวเมื่อ พระปทุมพุทธเจ้าตรัสสอนพระราชโอรส ของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิพระปทุมบรมศาสดา ทรงมีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกมาประชุมกัน แสนโกฏิ เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้นในสมัยกรานกฐิน ภิกษุทั้งหลาย ช่วยกันเย็บจีวร เพื่อประโยชน์แก่พระธรรมเสนาบดี ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นล้วนปราศจากมลทินได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ผู้ไม่ พ่ายแพ้อะไรๆ สามแสนรูปมาประชุมกัน สมัยต่อมา ในคราวที่ พระบรมศาสดาผู้องอาจกว่านรชน ทรงเข้าจำพรรษาในป่าใหญ่ ครั้งนั้น พระสาวกสองแสนมาประชุมกัน สมัยนั้นเราเป็นราชสีห์ เป็นใหญ่กว่าฝูงมฤค ได้พบพระพิชิตมาร ซึ่งกำลังเจริญวิเวกอยู่ใน ป่าใหญ่ เราถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้ากระทำประทักษิณ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง บำรุงพระพิชิตมารอยู่ ๗ วัน ครบ ๗ วัน แล้วพระตถาคตเสด็จออกจากสมาบัติอันประเสริฐทรงดำริด้วยพระ- ทัยให้พระภิกษุมาประชุมกันโกฏิหนึ่ง แม้ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้า พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่าผู้นี้จักได้ เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ............................ ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้นเรา ได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่า จัมปกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอสมะ เป็นพระชนกของพระปทุมบรมศาสดา พระนางอสมาเป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอคารสถานอยู่สองหมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อนันทะ วสุ และอสัตตระ ทรงมีพระ-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๗.

สนมานารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าอุตตรา พระราชโอรสพระนามว่ารัมมะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถ อันเป็นราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระปทุมมหาวีร เจ้าผู้เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร ณ ธนัญชราชอุทยานอันประเสริฐทรงมีพระสาลเถระ และพระอุปสาลเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าวรุณเป็น พระพุทธุปัฏฐากพระราธาเถรีและพระสุราธาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเรียกกันว่าไม้อ้อยช้าง ใหญ่ สภิยอุบาสกและอสมอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก รุจิอุบาสิกา และนันทิมาราอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีพระกายสูง ๕๘ ศอก พระองค์ทรงมีพระรัศมีไม่มีอะไรเสมอแผ่ออกไปทั่วทิศ รัศมีพระจันทร์ รัศมีพระอาทิตย์ แสงรัตนะ และแสงแก้วมณี แม้ทุกอย่างนั้น ครั้นมาถึงรัศมีอันสูงสุดของพระชินเจ้า ย่อมหายไป ครั้งนั้นมนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้เป็นอันมาก พระองค์ทรงยัง สัตว์ผู้มีอัธยาศัยแก่กล้าให้ตรัสรู้โดยไม่เหลือ ทรงพร่ำสอนชนที่ เหลืออื่นๆ แล้ว เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์ทรง ละทิ้งสังขารทั้งปวง เหมือนงูลอกคราบอันเก่า ดังต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วเสด็จนิพพานเหมือนไฟดับ ฉะนั้น พระพิชิตมารผู้ประเสริฐ บรมศาสดาพระนามว่าปทุม เสด็จนิพพาน ณ ธรรมาราม พระธาตุ ของพระองค์แผ่ไปกว้างในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
จบปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๘.

นารทพุทธวงศ์ที่ ๙
ว่าด้วยพระประวัติพระนารทพุทธเจ้า


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๖๐๗-๗๖๖๐ หน้าที่ ๓๒๕-๓๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7607&Z=7660&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=189&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=189&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=189&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=33&item=189&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=189              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :