ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๑๑] 	สมัยต่อมาจากพระนารทพุทธเจ้า พระสัมพุทธชินเจ้าผู้อุดมกว่า
                          สรรพสัตว์ พระนามว่าปทุมุตระ มีพระคุณนับไม่ถ้วน เปรียบด้วย
                          สาคร และในกัปที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเป็นมัณฑกัป ประชุมชน
                          ผู้มีกุศลมากจึงได้เกิดในกัปนั้น ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ ของ
                          พระผู้มีพระภาคปทุมุตระ ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์
                          แสนโกฏิ ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงยังฝนคือธรรม ให้ตก และ
                          ให้สัตว์ทั้งหลายอิ่มหนำสำราญ ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
                          สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน ในกาลเมื่อพระมหาวีรเจ้า เสด็จเข้าไปยัง
                          สำนักพระเจ้าอานันทพุทธบิดา ครั้นแล้วทรงตีกลองอมฤต เมื่อ
                          พระองค์ทรงตีกลองอมฤตเภรี ยังฝนคือธรรม ให้ตก ธรรมาภิสมัย
                          ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าโกฏิ พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทให้รู้แจ้ง
                          ทรงยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้าม ทรงฉลาดในเทศนา ทรงช่วยให้
                          หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย พระปทุมุตรบรมศาสดาทรง
                          ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกแสนโกฏิมาประชุมกัน
                          ครั้งที่ ๒ ในกาลเมื่อพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ประทับอยู่
                          ณ เวภารบรรพต พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิมาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
                          เมื่อพระองค์เสด็จจาริกจากนิคมและรัฐ พระสาวกแปดหมื่นโกฏิมา
                          ประชุมกัน สมัยนั้น เราเป็นชฎิลชื่อว่ารัฏฐิกะ ได้ถวายผ้าพร้อม
                          ภัตตาหารแก่สงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระพุทธเจ้า
                          พระองค์นั้นประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์ทรงพยากรณ์เราว่า ใน
                          แสนกัปแต่กัปนี้ไป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .........
                          ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว
                          อธิษฐานวัตรให้ยิ่งขึ้น เราได้ทำความเพียรมั่นชั้นยอด ในการบำเพ็ญ
                          บารมี ๑๐ ประการ ในกาลนั้น เดียรถีย์ทั้งปวงถูกกำจัด พากัน
                          เสียใจโทมนัส ใครๆ ไม่บำรุงเดียรถีย์เหล่านั้น พวกเขาจึงพากัน
                          ออกไปจากแว่นแคว้น มาประชุมกันในที่นั้นทั้งหมดแล้วเข้าไปใน
                          สำนักพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอพระองค์
                          ผู้มีจักษุ ผู้ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์แก่สัตว์
                          ทั้งปวงได้ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด พระองค์ทรงยังเดียรถีย์ที่มาประชุม
                          กันทั้งปวง ให้ตั้งอยู่ในเบญจศีล พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูล
                          ว่างจากพวกเดียรถีย์อย่างนี้ งามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่ง
                          เป็นผู้มีความชำนาญคงที่ พระนครชื่อว่าหงสวดี พระบรมกษัตริย์
                          พระนามว่าอานนท์ เป็นพระชนกของพระปทุมุตรศาสดา พระนาง-
                          สุชาดา เป็นพระพุทธชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่
                          เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อนารี พาหนะ
                          และยศวดี มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่นสามพันนาง ล้วนประดับ
                          ประดาสวยงาม พระอัครมเหสีพระนามว่าวสุลทัตตา พระราชโอรส
                          พระนามว่าอุตระ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออก
                          ผนวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระปทุมุตร-
                          บรมศาสดามหาวีรเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
                          พระธรรมจักร ณ มิถิลาราชอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระเทวิลเถระ
                          และพระสุชาตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสุมนะ เป็น
                          พุทธอุปัฏฐาก พระอมิตาเถรีและพระอสมาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา
                          ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกกันว่าไม้สน อมิตอุบาสกและติสส-
                          อุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก อุหัตถาอุบาสิกาและสุจิตราอุบาสิกา
                          เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีทรงมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก มี
                          พระรัศมีงามเช่นกับทองคำล้ำค่า มีพระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ
                          พระรัศมีของพระองค์แผ่ไป ๑๒ โยชน์ โดยรอบกำแพง บานประตู
                          ฝาเรือน ต้นไม้ และภูเขาสูงเทียมฟ้า กำบังไม่ได้ ครั้งนั้น มนุษย์
                          ทั้งหลายมีอายุแสนปี พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงตัด
                          ความสงสัยทั้งปวง ช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย ทรง
                          รุ่งเรืองดังกองไฟแล้วเสด็จนิพพาน พร้อมด้วยพระสาวก พระ-
                          ปทุมุตรพุทธชินเจ้า เสด็จนิพพาน ณ นันทาราม พระสถูปอัน
                          ประเสริฐของพระองค์ สูง ๑๒ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในนันทารามนั้น
                          ฉะนี้แล.
จบ ปทุมุตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑
ว่าด้วยพระประวัติพระสุเมธพุทธเจ้า


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๗๒๒-๗๗๗๙ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7722&Z=7779&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=191&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=191&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=191&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=33&item=191&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=191              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :